สร้างภูมิคุ้มกันให้วัย 50+ ด้วยแพคเกจวัคซีนราคาพิเศษ
“วัคซีน” ไม่ได้จำเป็นเฉพาะในเด็กๆเท่านั้น แต่ในคนทุกวัยโดยเฉพาะผู้สูงอายุ วัคซีน ก็จำเป็นเช่นกัน เนื่องจากวัยที่สูงขึ้น เซลล์เสื่อมสภาพมากขึ้น ภูมิคุ้มกันที่เคยดีมาตลอดอาจจะถดถอยลงบ้าง เมื่อร่างกายอ่อนแอ จะทำให้เรารับเชื้อได้ง่ายขึ้น หรือเชื้อที่ซ่อนอยู่แต่เราไม่เคยรู้อาศัยช่วงที่ภูมิคุ้มกันอ่อนแอปะทุออกมาเกิดเป็นโรคที่ทำลายคุณภาพชีวิต เช่น งูสวัด ไข้หวัดใหญ่ คอตีบ บาดทะยัก ไอกรน เป็นต้น การฉีดวัคซีน จึงเป็นอีกด่านที่จะช่วยป้องกันและช่วยบรรเทาความรุนแรงของโรคได้
- วัคซีนไข้หวัดใหญ่ FLU Vaccine
- วัคซีนคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน Td or Tdap Vaccine
- วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อนิวโมคอคคัส Pneumococcal Vaccine
- วัคซีนป้องกันโรคงูสวัด Zoster Vaccine
- วัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส Varicella Vaccine
/////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
วัคซีนไข้หวัดใหญ่
FLU Vaccine
ไข้หวัดใหญ่ (Flu) เป็นโรคที่ติดต่อได้อย่างกว้างขวาง โรคนี้เกิดจากเชื้อไวรัสที่ติดต่อจากบุคคลหนึ่งถึงบุคคลหนึ่งโดยแพร่จากการไอ จามและการสัมผัส
อาการจะเกิดอย่างรวดเร็วและอาจเป็นอยู่หลายวัน อาการที่เป็นเช่น :
- มีไข้/หนาวสั่น
- เจ็บคอ
- ปวดกล้ามเนื้อ
- เมื่อยล้าอ่อนเพลีย
- ไอ
- ปวดศีรษะ
- น้ำมูกไหลหรือคัดจมูก
วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ชนิดเชื้อตาย เป็นวัคซีนซึ่งไม่มีส่วนผสมของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ที่ยังมีชีวิต เป็นการฉีดด้วยเข็มฉีดยา และมักเรียกว่า “Flu Shot” เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ แต่ละปีจึงต้องผลิตวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ขึ้นเพื่อป้องกันเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคในปีนั้น ในขณะที่วัคซีนไม่สามารถป้องกันเชื้อไข้หวัดใหญ่ได้ทุกสายพันธุ์ เราจึงต้องพยายามป้องกันการเกิดโรคให้ดีที่สุด
ร่างกายจะเริ่มสร้างภูมิต้านทานต่อโรคประมาณสองสัปดาห์ และจะป้องกันได้หนึ่งปี บางครั้งการป่วยที่ไม่ได้เกิดจากไข้หวัดใหญ่มักจะถูกเข้าใจผิดว่าเป็นไข้หวัดใหญ่ วัคซีนนี้จะไม่ป้องกันความเจ็บป่วยที่เกิดจากเชื้อไวรัสชนิดอื่นจะป้องกันได้เฉพาะไข้หวัดใหญ่เท่านั้น
ผู้ที่ “ควรรับ” วัคซีน
กลุ่มที่เมื่อเป็นไข้หวัดใหญ่จะป่วยมากกว่าผู้อื่น คือเด็กเล็ก ผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป หญิงตั้งครรภ์และผู้ที่มีปัญหาสุขภาพ เช่น โรคหัวใจ โรคปอด โรคไต หรือระบบภูมิต้านทานต่ำ วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่มีความสำคัญมากเป็นพิเศษสำหรับบุคคลกลุ่มนี้และใครก็ตามที่ใกล้ชิดกับคนกลุ่มนี้
วิธีการให้
- ฉีดทุกปี ปีละ 1 ครั้ง เนื่องจากเชื้อไข้หวัดใหญ่มีการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ทุกปี
หากท่านรู้สึกไม่สบายควรแจ้งให้แพทย์ทราบ ปกติแล้วท่านสามารถรับวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ได้หากมีอาการป่วยเล็กน้อย ในบางกรณีแพทย์อาจแนะนำให้รอไปก่อนจนกว่าจะมีอาการดีขึ้นก่อนแล้วกลับมาฉีดในภายหลัง
ผู้ที่ “ไม่ควรรับ” วัคซีน
- เด็กอายุต่ำกว่า 6 เดือน
- ผู้ที่มีประวัติแพ้ไข่ไก่หรือ ส่วนประกอบของวัคซีนชนิดนี้อย่างรุนแรง
- ผู้ที่กำลังป่วยหรือเคยป่วยด้วยกลุ่มอาการกิลแลง-บาร์เร (Guillain-Barré Syndrome: GBS)
อาการข้างเคียงที่ “อาจ” พบได้จากวัคซีนไข้หวัดใหญ่
อาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นเล็กน้อยหลังจากการได้รับการฉีดวัคซีน:
- ระบม แดง หรือบวมบริเวณที่ฉีด
- ไข้
- ปวดเมื่อย
- ปวดศีรษะ
- คัน
- อ่อนเพลีย
อาการเหล่านี้มักจะเกิดขึ้นไม่นานหลังฉีด และจะหายเองภายใน 1-2 วัน หลังจากฉีดวัคซีนแล้ว ควรนั่งหรือนอนพัก ประมาณ 15-30 นาที ที่โรงพยาบาลเพื่อสังเกตอาการ แพ้ หรือ อาการข้างเคียงอื่นๆ
////////////////////////////////////////
วัคซีนคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน
Td or Tdap Vaccine
โรคคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน เป็นโรคอันตรายที่เกิดจากแบคทีเรีย โรคคอตีบและไอกรนเป็นการแพร่เชื้อจากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่ง ส่วนเชื้อบาดทะยักเข้าสู่ร่างกายทางบาดแผลหรือรอยขีดข่วน
- โรคคอตีบ : ทำให้เกิดเนื้อหนาๆ ปิดอยู่หลังลำคอ ทำให้เกิดปัญหากับระบบหายใจ, อัมพาต, หัวใจล้มเหลวและอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้
- โรคบาดทะยัก (อาการขากรรไกรแข็ง) : ทำให้เกิดอาการปวดเกร็งกล้ามเนื้อ มักเป็นทั่วร่างกาย สามารถนำไปสู่อาการขากรรไกรแข็ง ทำให้ไม่สามารถอ้าปากหรือกลืนอาหารได้ ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้
- โรคไอกรน (Whooping Cough) : ทำให้เกิดอาการไออย่างรุนแรงจนผู้ป่วยไม่สามารถรับประทานอาหาร ดื่มน้ำ หรือหายใจได้ ใช้เวลาเป็นสัปดาห์กว่าจะหาย อาจทำให้เกิดโรคปอดบวม ลมชัก สมองพิการหรือถึงขั้นเสียชีวิตได้
ผู้ที่ “ควรรับ” วัคซีน และวิธีการให้
วัคซีนป้องกันโรคคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน (Tetanus, Diphtheria, Pertussis)
- เด็กควรได้รับการฉีดวัคซีน Tdap 5 เข็ม ฉีดตามกำหนดอายุ 2 เดือน, 4 เดือน, 6 เดือน, 15-18 เดือน, 4-6 ปี สามารถรับการฉีดวัคซีน Tdap ในเวลาเดียวกับการฉีดวัคซีนอื่นๆได้
- สำหรับผู้ที่อายุมากกว่า 11 ปี ยังจำเป็นต้องได้รับการป้องกันอยู่ โดยวัคซีนที่ใช้คือ TdaP และกระตุ้นด้วยวัคซีน Td ทุก 10 ปี
หมายเหตุ
- ประสิทธิผลสูงสุดของการฉีดวัคซีน จะเกิดหลังจากได้รับวัคซีนอย่างน้อย 14 วัน
- ผู้ที่เข้ารับการฉีดวัคซีน จะต้องเป็นผู้มีสุขภาพดีและพร้อมที่จะเข้ารับการฉีดวัคซีน
- ในกรณีผู้ป่วยไม่สบายเพียงเล็กน้อย อาจสามารถรับวัคซีนได้ แต่ต้องขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์
ผู้ที่ “ไม่ควรรับ” วัคซีน
- ผู้ที่มีประวัติเกิดผลข้างเคียงรุนแรงหลังจากการฉีดวัคซีนคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน หรือผู้ที่มีอาการป่วยหนัก ไม่สมควรได้รับการฉีดวัคซีน
อาการข้างเคียงที่ “อาจ” พบได้จากวัคซีนคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน
ผลข้างเคียงเล็กน้อยที่พบได้
- อาจพบอาการปวด บวม แดง บริเวณตำแหน่งฉีดวัคซีนได้
- มีไข้ต่ำ หลังได้รับวัคซีน ประมาณ 37.5 – 37.8 องศาเซลเซียส
- ปวดศีรษะ
- คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ปวดท้อง
- อาการสั่น ปวดข้อ
- ปวดเมื่อยตามร่างกาย
ผลข้างเคียงระดับรุนแรงแต่พบน้อยมาก
- มีอาการปวดบริเวณไหล่อาจส่งผลกระทบให้เกิดความลำบากในการเคลื่อนไหวแขนหรือมีอาการบวมแดงบริเวณตำแหน่งที่ได้รับวัคซีน โดยอาจพบอาการนานมากกว่า 3 สัปดาห์
- อาการแพ้อย่างรุนแรง
- ผื่น ผิวหนังอักเสบ
- ไข้สูงมากกว่า 38.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป
////////////////////////////////////////
วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อนิวโมคอคคัส
Pneumococcal Vaccine
โรคนิวโมค็อคคัล เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียสเทร็พโทค็อคคัสนิวโมเนีย แบคทีเรียเหล่านี้สามารถแพร่จากบุคคลหนึ่งไปสู่บุคคลหนึ่งจากการสัมผัสใกล้ชิด สามารถทำให้เกิดปัญหาสุขภาพร้ายแรงได้ รวมทั้งปอดบวม เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือด และโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
เชื้อแบคทีเรียนิวโมค็อคคัลมีมากกว่า 90 ชนิด วัคซีนนิวโมค็อคคัลคองจูเกท (PCV13) สามารถป้องกันได้ 13 ชนิด ซึ่งแบคทีเรียเหล่านี้เป็นต้นเหตุให้เกิดการติดเชื้อที่รุนแรงในเด็กและประมาณครึ่งหนึ่งของการติดเชื้อในผู้ใหญ่ วัคซีนนิวโมค็อคคัลชนิดที่ 2 เรียกว่า PPSV23 ซึ่งอาจฉีดให้กับเด็กโตและผู้ใหญ่ รวมถึงผู้ที่มีอายุเกิน 65 ปี
ผู้ที่ “ควรรับ” วัคซีน และวิธีการให้
- วัคซีนนิวโมคอคคัส 13 สายพันธุ์ (PVC13) แนะนำให้ฉีดวัคซีนเข้ากล้ามเนื้อ 1 เข็ม แก่ผู้สูงอายุมากกว่า 65 ปี หรือ ผู้ใหญ่ที่มีปัจจัยเสี่ยงดังนี้
- ผู้ที่ได้รับการตัดม้าม
- ผู้ที่มีโรคเรื้องรัง เช่น หัวใจวายเรื้อรัง ปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคไตวาย โรคตับแข็ง เบาหวานที่ควบคุมน้ำตาลไม่ดี
- ผู้ป่วยที่มีการรั่วซึมของน้ำไขสันหลัง (Cerebrospinal Leakage)
- ผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น ได้รับยากดภูมิคุ้มกันหรือยาสเตียรอยด์ขนาดสูง ติดเชื้อเอชไอวี เปลี่ยนถ่ายอวัยวะและปลูกถ่ายไขกระดูก
- วัคซีนนิวโมคอคคัส 23 สายพันธุ์ (PPSV23) แนะนำให้ฉีดวัคซีนเข้ากล้าม 1 เข็ม แก่ผู้สูงอายุมากกว่า 65 ปี หรือ ผู้ใหญ่ที่มีปัจจัยเสี่ยงรุนแรง ดังนี้
- ผู้ที่มีโรคปประจำตัว ได้แก่ โรคหัวใจ โรคปอด โรคตับแข็งเรื้อรัง โรคไตเรื้อรัง โรคเบาหวา
- ผู้ที่อายุน้อยกว่า 65 ปี ควรได้รับวัคซีนนิวโมคอคคัส 23 สายพันธุ์ 1 เข็ม และควรฉีดกระตุ้นทุก 5 ปีจนถึงอายุ 65 ปี
ผู้ที่ “ไม่ควรรับ” วัคซีน
- ใครก็ตามที่เคยมีปฏิกิริยาแพ้อย่างรุนแรงถึงขั้นเป็นอันตรายกับชีวิต ไม่ควรฉีดวัคซีนนี้
- ใครก็ตามที่มีปฏิกิริยาแพ้อย่างรุนแรงต่อส่วนผสมของวัคซีน ไม่ควรฉีดวัคซีนนี้
อาการข้างเคียงที่ “อาจ” พบได้จากวัคซีนนิวโมคอคคัส
วัคซีนก็เหมือนยารักษาโรคอื่นๆ อาจทำให้เกิดปัญหาได้ เช่น เกิดปฏิกิริยาแพ้ยา ความเสี่ยงซึ่งอาจทำอันตรายร้ายแรงต่อผู้รับการฉีดวัคซีนนี้ อาจเกิดขึ้นได้แต่น้อยมาก
- ประมาณครึ่งหนึ่งของเด็กจะมีอาการง่วงนอนหลังจากได้รับการฉีดวัคซีน มีอาการเบื่ออาหาร
ชั่วคราวหรือระบมแดงบริเวณที่ได้รับการฉีดวัคซีน
- ประมาณ 1 ใน 3 จะมีอาการบวมบริเวณที่ได้รับการฉีด
- ประมาณ 1 ใน 3 จะมีไข้เล็กน้อยและประมาณ 1 ใน 20 จะมีไข้สูง
มีรายงานว่าผู้ใหญ่ที่ได้รับวัคซีนจะมีอาการบวมแดง และเจ็บบริเวณที่ได้รับการฉีด มีไข้เล็กน้อย ปวดเมื่อย ปวดหัว หนาวสั่นหรือปวดกล้ามเนื้อ ปฏิกิริยาแพ้ถึงขั้นเป็นอันตรายต่อชีวิตจากการได้รับวัคซีนเกิดขึ้นน้อยมาก
หมายเหตุ หลังฉีดวัคซีน1 เดือนจึงเกิดภูมิต้านทานโรค
////////////////////////////////////////
วัคซีนป้องกันโรคงูสวัด
Zoster Vaccine
โรคงูสวัดเป็นโรคผิวหนังเกิดจากกลับติดเชื้อซ้ำของเชื้อไวรัสเรียกว่า Varicella-zoster Virus (VZV) ซึ่งเป็นเชื้อที่อยู่ในร่างกายทำให้เกิดตุ่มพองที่ผิวหนัง ปวดแสบร้อนมาก และเป็นชนิดเดียวกับที่ทำให้เกิดโรคไข้สุกใส ผู้ที่เป็นโรคอีสุกอีใสมาก่อนจะยังคงมีเชื้อไวรัสนี้ที่ปมประสาทสันหลัง ซึ่งเมื่อร่างกายอ่อนแอเชื้อสามารถสร้างเพิ่มจำนวน ทำให้เกิดโรคงูสวัดได้ แต่จะเกิดเฉพาะแนวประสาท ไม่ลุกลามกระจายออกไปเพราะร่างกายมีภูมิต้านทานต่อเชื้ออยู่แล้ว แนวเส้นประสาทที่พบบ่อยได้แก่ บริเวณเอว ก้นกบ ตา ใบหน้า ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง ผู้ที่รับประทานยาสเตอร์รอยด์ จะมีโอกาสที่จะเกิดโรคงูสวัดสูง เกิดการอักเสบของเส้นประสาทและอาการปวดอย่างรุนแรงที่อาจส่งผลต่อคุณภาพชีวิต เช่น อาจจะทำให้เกิดตาบอด ปากเบี้ยวครึ่งซีก เป็นต้น
เชื้อไวรัสที่อยู่ในผื่นสามารถติดต่อโดยการสัมผัส สำหรับผู้ที่ไม่เคยเป็นอีสุกอีใสมาก่อนก็อาจจะกลายเป็นอีสุกอีใส สำหรับคนที่เป็นอีสุกอีใสแล้วก็จะมีโอกาสเป็นงูสวัดเพิ่มมากขึ้น
ผู้ที่ “ควรรับ” วัคซีน
แนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคงูสวัดตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป โดยไม่ต้องคำนึงว่าเคยเป็นโรคอีสุกอีใสหรือเคยรับวัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใสมาก่อนหรือไม่ และแนะนำให้ฉีดแม้ว่าเคยเป็นโรคงูสวัดมาก่อนแล้ว
วิธีการให้
วัคซีนงูสวัดเป็นการฉีดวัคซีนเพียงเข็มเดียวก็เพียงพอที่จะช่วยป้องกันโรคงูสวัดได้
ผู้ที่ “ไม่ควรรับ” วัคซีน
หากเข้าข่ายข้อใดต่อไปนี้ ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
- ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันร่างกายที่อ่อนแอ เช่น เพิ่งได้รับการรักษาโรคมะเร็ง
- มีความผิดปกติทำงเลือด เช่น ลูคีเมีย มะเร็งต่อมน้ำเหลือง
- กำลังรับประทำนยาสเตียรอยด์ หรือเคยได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ
- มีปฏิกิริยาตอบโต้อย่างรุนแรงต่อส่วนประกอบใดๆ ในวัคซีนงูสวัด หรือวัคซีนโรคอีสุกอีใสที่เคยได้รับก่อนหน้า
- เป็นวัณโรคที่ไม่ได้รับการรักษา
อาการข้างเคียงที่ “อาจ” พบได้จากวัคซีน
หลังจากได้รับวัคซีนงูสวัดอาจมีผลข้างเคียงตามมา แต่มักไม่เป็นอันตราย ผลข้างเคียงนั้นค่อนข้างไม่รุนแรง และมีระยะเวลาไม่นาน โดย 1 ใน 10 ของผู้ได้รับวัคซีนจะมีอาการดังต่อไปนี้ เช่น ปวดหัว แดง หรือปวดบริเวณที่ได้รับการฉีดวัคซีน แต่หากได้รับผลข้างเคียงนานเกิน 2-3 วัน ควรติดต่อแพทย์เพื่อดูอาการ
/////////////////////////////////////////////
วัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส
Varicella Vaccine
โรคอีสุกอีใส (เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Varicella) เป็นโรคทั่วไปที่มักพบได้ในวัยเด็ก เป็นโรคที่ไม่ร้ายแรงแต่อาจเป็นอันตรายได้ หากเกิดขึ้นกับเด็กอ่อนหรือผู้ใหญ่
- ทำให้เกิดเป็นผื่น คัน เป็นไข้และอ่อนเพลีย
- อาจก่อให้เกิดการติดเชื้อที่ผิวหนังอย่างรุนแรง เกิดแผลเป็น ปอดบวม สมองพิการหรือเสียชีวิต
- ไวรัสอีสุกอีใส แพร่เชื้อจากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่งทางการสัมผัสของเหลวที่ไหลออกมาจากตุ่มอีสุกอีใส
- ผู้ที่เคยเป็นอีสุกอีใสมาแล้วอาจเป็นผื่นเจ็บปวดที่เรียกว่างูสวัดได้อีกนานนับปี
วัคซีนโรคอีสุกอีใสสามารถป้องกันโรคอีสุกอีใสได้ ส่วนมากบุคคลที่ฉีดวัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใสแล้วจะไม่เป็นโรคนี้ แต่อาจมีเป็นจำนวนน้อยมากๆที่ถึงแม้จะฉีดวัคซีนป้องกันแล้วก็ตาม ยังอาจติดเชื้อโรคอีสุกอีใสได้ แต่จะเกิดตุ่มใสน้อยกว่าและไม่ค่อยเป็นไข้ ทั้งยังหายเร็วกว่าด้วย
ผู้ที่ “ควรรับ” วัคซีน และวิธีการให้
เด็กที่ไม่เคยเป็นอีสุกอีใสมาก่อนควรฉีดวัคซีนอีสุกอีใส 2 เข็มที่อายุดังนี้
เข็มที่ 1 : ที่อายุ 12-15 เดือน
เข็มที่ 2 : ที่อายุ 4-6 ปี (อาจจะฉีดเร็วกว่านี้ได้ แต่ต้องห่างจากเข็มแรกอย่างน้อย 3 เดือน)
คนที่มีอายุ 13 ปีขึ้นไป (ผู้ซึ่งไม่เคยเป็นอีสุกอีใสมาก่อนเลย หรือผู้ที่ไม่เคยฉีดวัคซีนป้องกันอีสุกอีใสมาก่อน) ควรได้รับการฉีด 2 เข็มห่างกันอย่างน้อย 28 วัน
ผู้ที่ “ไม่ควรรับ” วัคซีน
- ผู้ที่เคยแพ้อย่างรุนแรงถึงขั้นเป็นอันตรายต่อชีวิตเมื่อฉีดวัคซีนครั้งก่อน หรือผู้ที่เคยแพ้สารเจลลาตินหรือยาปฏิชีวนะ Neomycin
- ผู้ที่มีอาการป่วยปานกลางหรือป่วยหนักในระยะเวลาที่ถึงเวลาต้องฉีดวัคซีน ควรรอก่อนจนกว่าจะหายเป็นปกติจึงค่อยฉีดวัคซีนอีสุกอีใส
- หญิงมีครรภ์ควรคอยที่จะฉีดวัคซีนอีสุกอีใส จนกระทั่งหลังคลอดแล้ว สตรีไม่ควรตั้งครรภ์ ในระยะ 1 เดือนหลังจากได้รับการฉีดวัคซีนอีสุกอีใส
ผู้ที่ “ควรปรึกษาแพทย์” ก่อนรับวัคซีน
- เป็น HIV / AIDS หรือโรคอื่นที่มีผลกระทบต่อระบบภูมิต้านทาน
- กำลังได้รับการรักษาด้วยยาที่มีผลกระทบกับระบบภูมิต้านทาน เช่น ยาสเตอร์รอยด์ มาประมาณ 2 สัปดาห์หรือนานกว่า
- เป็นโรคมะเร็งทุกชนิดและกำลังรับการบำบัดมะเร็งด้วยรังสีวิทยา
- บุคคลที่เพิ่งจะได้รับเลือดหรือส่วนประกอบของเลือดจากคนอื่นมาใหม่ๆ ควรปรึกษาแพทย์ของท่านก่อนว่าเมื่อไหร่จึงสมควรจะฉีดวัคซีนได้
อาการข้างเคียงที่ “อาจ” พบได้จากวัคซีน
บุคคลส่วนมากที่ได้รับวัคซีนอีสุกอีใสไปแล้วมักไม่มีปัญหาอะไรเกิดขึ้น ปฏิกิริยามักเกิดขึ้นหลังการฉีดวัคซีนเข็มแรกมากกว่าภายหลังจากการฉีดเข็มที่สอง ซึ่งมีเพียงเล็กน้อย คือ ระบมหรือบวมบริเวณที่รับการฉีดวัคซีน มีไข้ มีผื่นขึ้น
หมายเหตุ หลังฉีดวัคซีนครบ 2 เข็ม จึงเกิดภูมิต้านทานโรค
////////////////////////