
ทุกสิ่งที่ควรรู้เรื่อง โรคนอนไม่หลับ กับ กัญชา
Table of Contents
โรงพยาบาล บีเอ็นเอช เป็นโรงพยาบาลเอกชนแห่งแรกที่เปิดทำการคลินิกกัญชาทางการแพทย์ โดยมีแพทย์ที่ผ่านการอบรบและได้รับอนุญาตให้ทำการจ่ายยาประเภทกัญชาทางการแพทย์ในสาขาต่างๆจำนวน 5 สาขาได้แก่ สาขาโรคผิวหนัง โรคทางสมองและระบบประสาท เวชศาสตร์ฟื้นฟู การแพทย์สาขากายภาพบำบัดและอาการปวด และอายุรแพทย์

การนอนไม่หลับ ส่งผลเสียอย่างไรบ้าง
อาการนอนไม่หลับเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยและส่งผลรบกวนคุณภาพชีวิตในระยะยาว อาการนอนไม่หลับคือการหลับได้ยากหรือหลับๆตื่นๆ ความผิดปกติในการนอนหลับเกิดขึ้นได้จากการที่ใช้ยหลายตัวพร้อมๆกัน โดยเฉพาะกลุ่มอาการปวดต่างๆ การรักษาทางการแพทย์อื่นๆ ด้วยยาแผนปัจจุบันบรรเทาอาการนอนไม่หลับได้น้อยมาก และบ่อยครั้งที่การรักษา (เช่น ยาสำหรับโรคสมาธิสั้นหรือภาวะซึมเศร้า) ทำให้อาการนอนไม่หลับแย่ลง
ผลเสียของการนอนไม่หลับที่พบบ่อย หากเราอดนอน หรือพักผ่อนไม่เพียงพอมีดังนี้:
1.เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดความดันโลหิตสูง และปัญหาด้านระบบหลอดเลือดหัวใจ
2.ประสิทธิภาพของระบบภูมิคุ้มกันทำงานลดลง
3.ประสิทธิภาพในการซ่อมแซมร่างกายลดลง เช่น เนื้อเยื่อส่วนที่สึกหรอลดลงรวมถึงฟื้นตัวจากโรคได้ช้า
4.ร่างกายมีภาวะอ่อนเพลีย ส่งผลต่อระบบเผาผลาญ ร่างกายต้องการอาหารมากขึ้น
5.มีอาการคลื่นไส้ ปวดศีรษะ ท้องผูกหรือท้องเสีย
6.ประสิทธิภาพการทำงานของกล้ามเนื้อทำงานได้ไม่เต็มที่ กล้ามเนื้อทำงานได้ลดลง หรืออ่อนแรง อ่อนเพลีย
7.ส่งผลต่อด้านจิตใจและอารมณ์ เช่น โกรธง่าย มีอารมณ์แปรปรวน ไม่คงที่ ซึมเศร้า และมีอาการเฉื่อยชา ไม่อยากทำอะไรเลย จะเห็นได้ว่าการพักผ่อนนอนหลับนั้นเป็นสิ่งสำคัญ เพราะฉะนั้นเราจึงต้องดูแลร่างกายให้ดีเพื่อสุขภาพในระยะยาว
สาเหตุ และอาการของโรคนอนไม่หลับ

สาเหตุุของอาการนอนไม่หลับเกิดได้จากทั้งโรคทางกาย โรคทางจิตเวช หรือโรคในกลุ่ม sleep-wake disorders ซึ่งเป็นโรคความผิดปกติของการนอนโดยตรง โดยโรคในกลุ่ม Sleep-wake disorders จะมีทั้งโรคที่ทำให้นอนไม่หลับ นอนหลับมาก และนอนหลับไม่เป็นเวลา ซึ่งโรคที่ทำให้เกิดปัญหาการนอนไม่หลับเป็นหลัก คือ โรคนอนไม่หลับ (insomnia disorder) สาเหตุของโรคนี้เกิดจากระบบประสาทการนอนทำงานผิดปกติ เป็นเหตุให้มีอาการนอนไม่หลับเรื้อรังเป็นเวลานานอย่างน้อย 3 เดือน โดยที่ปัญหาการนอนไม่ได้มีสาเหตุมาจากโรคทางกายหรือโรคทางจิตเวชชนิดอื่นๆ
ความเครียด
ความเครียดและวิตกกังวลเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ผู้ป่วยเลือกใช้กัญชาทางการแพทย์รองจากอาการปวด ความเครียดจากการทำงานหรือความเครียดจากเรื่องต่างๆ/อาการวิตกกังวลเป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นเป็นปกติเมื่อต้องเจอกับสถานการณ์ใหม่ๆที่ไม่คุ้นชิน หรือเกิดภาวะถูกคุกคาม กดดัน และอาจเกิดพร้อมกับอาการทางกาย ซึ่งอาจเกิดขึ้นในกรณีที่ไม่มีเหตุการณ์ใดมากระตุ้นก็ได้ อาการที่ถือว่าผิิดปกตินั้นคือเมื่อความเครียดส่งผลรบกวนถึงอาชีพการงานหรือการเข้าสังคม กัญชาสามารถลดหรือเพิ่มอาการวิตกกังวลก็ได้โดยขึ้นกับสายพันธุ์ คุณสมบัติทางเคมี ปริมาณที่ใช้ และสภาพแวดล้อมที่ใช้กัญชา เมื่อใช้กัญชารักษาด้วยโดสต่ำ จะบรรเทาอาการวิตกกังวล แต่เมื่อให้ขนาดที่มากขึ้นอาจเป็นการกระตุ้นให้มีอาการแย่ลง ดังนั้นจึงควรพบแพทย์เพื่อประเมินก่อนใช้และระหว่างใช้กัญชา
วัยทอง

สาเหตุการนอนไม่หลับในผู้สูงอายุ ได้แก่
การทำงานของร่างกายที่เสื่อมลง ระดับฮอร์โมนที่ลดง โรคประจำตัวที่รบกวนการนอน และการรับประทานยาหรืออาหารเสริมบางชนิด ซึ่งเป็นลักษณะปกติของผู้สูงอายุ แต่ถ้าหากในผู้สูงอายุรายไหนที่มีความวิตกกังวลอาจส่งผลให้การนอนไม่หลับมีอาการที่หนักขึ้นกว่าเดิมได้
ในเรื่องของการตื่นนอนกลางดึกที่ผู้สูงอายุรวมถึงคนส่วนใหญ่มีความวิตกกังวลหรือตื่นตระหนกเพราะคิดว่าเป็นเรื่องผิดปกติ แต่ในความเป็นจริงแล้วหากมีการตื่นกลางดึกและสามารถนอนหลับต่อได้ ก็ไม่ใช่เรื่องที่น่าเป็นห่วง และไม่ได้ส่งผลต่อคุณภาพการนอนแต่อย่างใด การรักษาปัญหาการนอนไม่หลับในผู้สูงอายุเริ่มต้นให้ดูก่อนว่าผู้ประสบปัญหามีเรื่องใดวิตกกังวลอยู่หรือไม่ หากมีให้จัดการที่เรื่องนั้น เมื่อไม่มีความวิตกกังวลก็จะสามารถนอนหลับได้ในที่สุด สำหรับผู้ที่ไม่มีเรื่องวิตกกังวล อาจมีในเรื่องของโรคประจำตัวที่รบกวนการนอน ซึ่งควรดูแลที่ตัวโรคนั้นๆ
แต่ในผู้สูงอายุบางรายมีความวิตกกังวลในเรื่องของการนอนไม่หลับโดยตรง ส่วนนี้ควรให้ผู้สูงอายุทำจิตใจให้ผ่อนคลายก่อนนอน อาจฟังเพลงในจังหวะเบาๆ หรือสวดมนต์ รวมถึงการทำกิจกรรมอื่นๆ เพื่อความผ่อนคลายแล้วจึงเข้านอน จะช่วยให้หลับสบาย ไม่ควรสั่งหรือบังคับให้ตัวเองนอน เพราะจะทำให้เกิดความเครียดมากขึ้น และส่งผลให้นอนไม่หลับ
นอกจากนี้สิ่งที่ควรทำคือการควบคุมระยะเวลาในการนอน คือการตื่นและการนอนให้ตรงเวลาในทุกๆ วัน จะช่วยแก้ปัญหาได้ในระยะยาว
ผู้ประสบปัญหานอนไม่หลับสามารถลองปรับเปลี่ยนกิจวัตรประจำวันบางส่วนเพื่อช่วยแก้ปัญหาการนอนไม่หลับยามดึก ปัจจัยที่ทำให้ผู้คนมีอาการนอนไม่หลับนั้น สามารถเกิดขึ้นได้จากทั้งปัจจัยภายนอก เช่น อาหารการกิน และ ปัจจัยภายใน เช่น ความวิตกกังวล ความเครียด
อาหารและการออกกำลังกาย
งดอาหารย่อยยากและส่วนผสมคาเฟอีนที่ทำให้หลับยากขึ้น แอลกอฮอลล์เองแม้จะมีฤทธิ์ทำให้ง่วงก็สามารถเป็นสาเหตุให้ตื่นขึ้นกลางดึกเพื่อเข้าห้องน้ำเช่นเดียวกัน และหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายก่อนนอนเพราะจะทำให้ร่างกายเกิดความตื่นตัว ส่งผลให้นอนไม่หลับ ผู้มีปัญหานอนไม่หลับควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเพราะไม่เพียงแต่จะช่วยให้คนเรามีสุขภาพที่ดีทั้งร่างกายและจิตใจแล้ว ยังช่วยทำให้นอนหลับลึกขึ้นได้ด้วย โดยมีงานวิจัยรองรับว่าการออกกำลังกายอย่างน้อยสองชั่วโมงครึ่งต่อสัปดาห์นั้นช่วยลดความวิตกกังวล ภาวะซึมเศร้า ของผู้ออกกำลังกาย ซึ่งจะส่งผลดีต่อการนอนหลับเช่นเดียวกัน
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการนอน

กระบวนการให้คำปรึกษาเพื่อให้ผู้ป่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการนอนที่ได้รับการศึกษาว่ามีประสิทธิภาพในการรักษาโรคนอนไม่หลับ ได้แก่ กระบวนการที่เรียกว่า Cognitive behavioral therapy for insomnia (CBT-I) โดย CBT-I ประกอบด้วย การให้ความรู้เกี่ยวกับการนอน (Sleep Education) การปรับระบบความคิด (Cognitive Therapy) การจำกัดการนอน ( Sleep restriction) การจัดการสิ่งกระตุ้น (Stimulus Control) และการใช้เทคนิคผ่อนคลาย (Relaxation Technique) รายละเอียดของแต่ละกระบวนการมีดังต่อไปนี้
การให้ความรู้เกี่ยวกับการนอน (Sleep education)
กระบวนการ ประกอบด้วย การให้ความรู้ 3 ด้าน ได้แก่
1.การให้ความรู้ในด้านสุขลักษณะการนอน (Sleep hygiene) ซึ่งได้แก่ การเข้านอนตื่นนอนให้ตรงเวลาอย่างสม่ำเสมอ การหลีกเลี่ยงการนอนกลางวัน การหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายตอนกลางคืนและการหลีกเลี่ยงคาเฟอีน เพื่อให้ผู้ป่วยปรับพฤติกรรมการนอนให้เหมาะสม
2.การให้ความรู้ด้าน Circadian Process เพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความเข้าใจถึงความสำคัญของการเข้านอนและตื่นนอนให้เป็นเวลา
3.การให้ความรู้ในด้าน Homeostatic Process เพื่อให้ผู้ป่วยเข้าใจเหตุผลที่ควรหลีกเลี่ยงการนอนในตอนกลางวัน
การปรับระบบความคิด (Cognitive therapy)
เป็นการใช้คำถามและคำแนะนำเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยตรวจสอบความถูกต้องของทัศนคติเกี่ยวกับการนอนของตนเอง และช่วยให้ผู้ป่วยปรับทัศนคติที่ผิดหรือมุมมองในแง่ร้ายเกินจริงให้ถูกต้องตามความเป็นจริงมากขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยลดความวิตกกังวลจากปัญหาการนนอนไม่หลับและเกิดกำลังใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการนอนมากขึ้น
การจำกัดการนอน (Sleep restriction)
เป็นวิธีการปรับพฤติกรรมการนอนโดยลดเวลาการนอนหรืออีกนัยหนึ่ง คือ การเพิ่มเวลาในช่วงตื่นนอน ซึ่งจะช่วยให้เกิดการกระตุ้นแรงขับเคลื่อนการนอนใน Homeostatic process ส่งผลให้เมื่อถึงเวลานอนผู้ป่วยจะหลับได้ง่ายขึ้นและหลับได้ลึกขึ้น โดยกระบวนการจะเริ่มจากให้ผู้ป่วยทำบันทึกการนอนในช่วง 1-2 สัปดาห์ จากนั้นแพทย์จะกำหนดเวลาเข้านอน และเวลาตื่นนอน และระยะเวลาทั้งหมดที่ใช้ในการนอนให้กับผู้ป่วย โดยระยะเวลาทั้งหมดที่ใช้ในการนอนจะคำนวณจากระยะเวลาจริงที่ผู้ป่วยหลับได้บวกเพิ่มอีก 30 นาที ให้เพิ่มเวลานอนครั้งละ 15 นาที จนกระทั่งได้เวลานอนกลับมาเป็นปกติ อย่างไรก็ตาม การจำกัดการนอนอาจไม่เหมาะในผู้ป่วยที่ไม่สามารถทนต่อการอดนอนได้ เช่น ผู้ป่วยโรค bipolar disorder หรือโรคลมชัก เป็นต้น นอกจากนี้ จำกัดการนอนอาจทำให้ความสามารถในการทำหน้าที่ต่างๆในตอนกลางวันลดลง ดังนั้น แพทย์จึงควรแนะนำให้ผู้ป่วยหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่อาจเป็นอันตราย เช่น ควรหลีกเลี่ยงการขับรถ การใช้เครื่องจักรทำงานต่างๆ เป็นต้น
การจัดการสิ่งกระตุ้น (Stimulus control)
เป็นการลดสิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิดการตื่นตัวและเป็นการช่วยให้ร่างกายเกิดการเรียนรู้ในการเชื่อมโยงการนอนหลับกับเตียงนอน โดยการแนะนำให้ผู้ป่วยใช้เตียงนอนสำหรับนอนเท่านั้น และแนะนำให้หันนาฬิกาออกไปทางอื่น หากผู้ป่วยยังนอนไม่หลับนานเกิน 15-20 นาที ให้ลุกขึ้นจากเตียงและไปทำกิจกรรมผ่อนคลายที่บริเวณอื่น เมื่อเริ่มรู้สึกง่วงจึงค่อยกลับมานอนบนเตียง การใช้เทคนิคผ่อนคลาย (Relaxation Technique) เป็นการสอนให้ผู้ป่วยฝึกเทคนิคการผ่อนคลายเช่น Progressive muscle relaxation, Breathing exercise หรือการทำสมาธิ เพื่อช่วยลดการตื่นตัวของร่างกายและจิตใจและลดความเกร็งของกล้ามเนื้อซึ่งจะช่วยให้ร่างกายและจิตใจอยู่ในสภาวะที่ผ่อนคลาย ส่งผลให้เกิดการนอนหลับได้ง่ายขึ้น
ผ่อนคลายความเครียด
การใช้เทคนิคผ่อนคลาย (Relaxation Technique) เป็นการสอนให้ผู้ป่วยฝึกเทคนิคการผ่อนคลายเช่น Progressive muscle relaxation, Breathing exercise หรือการทำสมาธิ เพื่อช่วยลดการตื่นตัวของร่างกายและจิตใจและลดความเกร็งของกล้ามเนื้อซึ่งจะช่วยให้ร่างกายและจิตใจอยู่ในสภาวะที่ผ่อนคลาย ส่งผลให้เกิดการนอนหลับได้ง่ายขึ้น
ปรึกษาแพทย์
- ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากสารสกัดพืชสกุลกัญชา C-leef CBD สำหรับผู้ที่มีปัญหานอนไม่หลับ หลับไม่ลึก เพิ่มประสิทธิภาพการนอนด้วยสารสกัดจากธรรมชาติ
- มีการศึกษาวิจัยในสารสกัดจากพืชสกุลกัญชาที่บ่งชี้ว่าสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการนอนหลับ นอกจากนี้ส่วนประกอบ GABA และ L-theanine ที่จะช่วยให้นอนหลับได้ไวขึ้น สารสำคัญในผลิตภัณฑ์นี้ทุกรายการมีเอกสารรองรับมาตรฐานการผลิต
- สามารถใช้ในผู้ที่มีอายุมากกว่า 20 ปี ขึ้นไปที่พบปัญหาการนอนหลับ ผู้ที่มีโรคประจำตัวและรับประทานยาประจำสามารถรับประทานได้ แต่ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ผลิตภัณฑ์นี้
กัญชาทางการแพทย์ และศาสตร์แห่งการนอนด้วยกัญชา




กัญชาทางการแพทย์หมายถึง กัญชาที่ถูกสั่งจ่ายโดยแพทย์ให้แก่ผู้ป่วย โดยผ่านการทดสอบและใบรับรองทั้งเรื่องของการผลิตและแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากองค์กรที่เชื่อถือได้ หลักฐานทางงานวิจัยได้ระบุว่า กัญชาสามารถช่วยเรื่องของอาการปวดเรื้อรัง กล้ามเนื้อกระตุก อาการนอนไม่หลับ หรือลดอาการคลื่นไส้อาเจียนระหว่างการทำเคมีบำบัดได้ ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของผู้ที่ใช้ยาเคมีแล้วมีผลกระทบที่อยากจะหลีกเลี่ยง หรือผู้ที่สนใจการแพทย์ประเภทธรรมชาติบำบัด
สรรพคุณของกัญชา
กัญชา เป็นพืชล้มลุกคล้ายต้นหญ้า มีสารเคมีอยู่ในกัญชาชื่อ Cannabinoids ซึ่งมีฤทธิ์สำคัญได้แก่ THC และ CBD กัญชาถูกนำมาใช้ในการรักษาโรคต่างๆ โดยแต่ละรูปแบบของการรักษา ให้ปริมาณความเข้มของสารแคนนาบินอยด์ที่ไม่เหมือนกัน และตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการดูแล สรรพคุณ ของกัญชา คุณสมบัติกัญชา มีอะไรบ้าง
- ช่วยให้เจริญอาหาร
- ช่วยผ่อนคลาย ทำให้อารมณ์ดีมากขึ้น
- นอนหลับง่าย
- ลดอาการคลื่นไส้ อาเจียน
- บรรเทาอาการปวดเรื้อรัง
- ต่อต้านอาการซึมเศร้า
- ยับยั้งเซลล์มะเร็ง
อย่างไรก็ตาม เราควรใช้สารสกัดกัญชาในปริมาณที่พอเหมาะ เพราะกัญชานั้นมีทั้งประโยชน์และโทษของการใช้กัญชา หากใช้ในปริมาณที่มากเกินไป อาจส่งผลเสียในระยะยาวได้
กัญชามีฤทธิ์ระงับประสาทอย่างอ่อนๆ มีการศึกษาวิจัยพบว่าการส่งสัญญาณของเอ็นโดแคนนาบินอยด์ปรับสภาพการนอนหลับได้ ซึ่งการศึกษาแสดงให้เห็นว่าความสำเร็จของการรักษาความผิดปกติในการนอนหลับด้วยยากัญชามีแนวโน้มว่าขึ้นอยู่กับขนาดที่ให้และวิธีที่ให้ หากผู้ป่วยตื่นขึ้นกลางดึก การรับประทานกัญชาหนึ่งชั่วโมงก่อนเข้านอนจะมีประสิทธิภาพอย่างมากในการทำให้ผู้ป่วยหลับตลอดทั้งคืน
- ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากสารสกัดพืชสกุลกัญชา C-leef CBD สำหรับผู้ที่มีปัญหานอนไม่หลับ หลับไม่ลึก เพิ่มประสิทธิภาพการนอนด้วยสารสกัดจากธรรมชาติ
- มีการศึกษาวิจัยในสารสกัดจากพืชสกุลกัญชาที่บ่งชี้ว่าสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการนอนหลับ นอกจากนี้ส่วนประกอบ GABA และ L-theanine ที่จะช่วยให้นอนหลับได้ไวขึ้น สารสำคัญในผลิตภัณฑ์นี้ทุกรายการมีเอกสารรองรับมาตรฐานการผลิต
- สามารถใช้ในผู้ที่มีอายุมากกว่า 20 ปี ขึ้นไปที่พบปัญหาการนอนหลับ ผู้ที่มีโรคประจำตัวและรับประทานยาประจำสามารถรับประทานได้ แต่ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ผลิตภัณฑ์นี้
กัญชาเพื่อการรักษาโรควิตกกังวล
THC จะช่วยในเรื่องการระงับประสาท ขณะที่ CBD มีแนวโน้มที่จะกระตุ้นให้ตื่น อย่างไรก็ตาม CBD มีประสิทธิภาพในการลดอาการวิตกกังวล ซึ่งสามารถทำให้นอนหลับได้ง่ายขึ้น
กัญชา เพื่อการรักษาโรคอัลไซเมอร์
อาการของโรคอัลไซเมอร์ที่สามารถใช้กัญชาเพื่อตอบสนองในการรักษาได้แก่ ปัญหาด้านการนอนหลับ อาการหวาดระแวง อาการวิตกกังวล อาการทุกข์ใจ อาการปวด อาการไม่อยากอาหาร และน้ำหนักลด การบำบัดด้วยสารแคนนาบินอยด์ในขนาดน้อยๆ สำหรับการรักษาปัญหาด้านพฤติกรรมที่ผิดปกติพบว่ามีประสิทธิภาพและร่างกายมีความต้านทานเพียงพอที่จะรับการรักษาได้เป็นอย่างดี กัญชาจึงอาจทำให้ผู้ดูแลสามารถให้การดูแลผู้ป่วยสูงอายุที่เป็นอัลไซเมอร์ที่บ้านได้โดยไม่ต้องย้ายไปอยู่สถานดูแลผู้สูงอายุH2 กัญชาทางการแพทย์ คืออะไร
กัญชาทางการแพทย์เป็นคำที่ใช้เรียกการใช้กัญชาเพื่อบรรเทาอาการป่วยหรือโรค โดยกัญชานั้นมีสารอยู่มากมายภายใน โดยสารซึ่งเป็นที่รู้จักคือ tetrahydrocannabinol (THC) และ cannabidiol (CBD)
งานวิจัยและแพทย์เฉพาะทาง


คลินิกกัญชาทางการแพทย์ของโรงพยาบาล BNH มีทีมแพทย์และทีมวิจัยทำงานวิจัยเกี่ยวกับการรักษาโรคนอนไม่หลับ โรคของกลุ่มอาการปวด โรคผิวหนัง และรักษาผู้ป่วยด้วยสารสกัดกัญชาทางการแพทย์ โดยแพทย์เฉพาะทาง และแพทย์ที่ได้รับอนุญาตให้รักษาด้วยสารสกัดกัญชาทางการแพทย์จากกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
ส่วนผสมและสรรพคุณกัญชา
“กัญชา เป็นพืชล้มลุกคล้ายต้นหญ้า มีสารเคมีอยู่ในกัญชาชื่อ Cannabinoids ซึ่งมีฤทธิ์สำคัญได้แก่ THC และ CBD โดยมีมากในดอกและช่อดอกตัวเมีย ในปัจจุบันกัญชานิยมนำไปใช้อย่างแพร่หลาย ไม่ว่าจะเป็น สเปรย์ น้ำมัน แคปซูล เครื่องพ่นไอระเหยทางการแพทย์ ไปจนถึงการนำมาใส่ในอาหาร และเครื่องดื่มต่างๆ และในทางการแพทย์นั้น กัญชาถูกนำมาใช้ในการรักษาโรคต่างๆ โดยแต่ละรูปแบบของการรักษา ให้ปริมาณความเข้มของสารแคนนาบินอยด์ที่ไม่เหมือนกัน และตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการดูแล กัญชารักษาโรคภาวะคลื่นไส้/อาเจียนจากยาเคมีบำบัด
- ผู้ที่มีโรคภาวะคลื่นไส้ หรืออาเจียนจากยาเคมีบำบัด แพทย์จะให้รับประทานยา Nabilone แต่ผู้ป่วยต้องมีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป เพราะมีผลข้างเคียงมีผลต่อระบบประสาท เนื่องจากเป็นสารสกัดจากกัญชา
- กัญชารักษาโรคภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็งในผู้ป่วยโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง
- กัญชาสามารถฟื้นฟูกล้ามเนื้อสำหรับผู้ป่วยโรคปลอกประสาทเสื่อม บรรเทาอาการปวดเฉียบพลันให้กับผู้ป่วยโรคภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็ง
- กัญชารักษาโรคลมชักที่รักษายาก และโรคลมชักที่ดื้อต่อยารักษา
จากงานวิจัยพบว่าสาร CBD (Cannabidiol) ที่มีอยู่ในกัญชามีศักยภาพในการรักษาผู้ป่วยโรคลมชักให้ดีขึ้นได้ โดยผู้ป่วยโรคลมชักที่ดื้อต่อยารักษาใช้สารนี้แล้วบรรเทาอาการลดลงได้มากถึง 44%




- กัญชารักษาโรคอัลไซเมอร์
มหาวิทยาลัยฟลอริดาได้ทดลองนำกัญชารักษาในผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ เนื่องจากพบว่าสารเดลตา 9 มีความสามารถในการยับยั้งเซลล์เอเบตาโปรตีนไม่ให้ผลิตสารพิษ อีกทั้งยังสามารถยับยั้งการทำงานของไมโทคอนเดรียได้อีกด้วย
- กัญชารักษาโรคพาร์กินสัน
ในกัญชามีสารไฟโตแคนนาบินอยด์ หากผู้ป่วยโรคพาร์กินสันใช้น้ำมันกัญชาวันละ 2-5 หยด จะช่วยลดสารโดพามีนที่มีผลต่อการอักเสบในสมอง ทำให้ระบบหลั่งสารสื่อประสาทให้ดีขึ้น
- กัญชารักษาโรคผิวหนังอักเสบชนิดตุ่มน้ำ
จากการศึกษาค้นพบว่ากัญชาสามารถบรรเทาอาการคัน,บวม และลดการอักเสบของผู้ป่วยได้ถึง 86.4% ทั้งในโรคผิวหนังอักเสบชนิดตุ่มน้ำและโรคผิวหนังอักเสบ
- กัญชารักษาโรคภาวะนอนไม่หลับ
ในกัญชามีสาร Cannabinoids ซึ่งนำมารักษาผู้ป่วยที่มีโรคภาวะนอนไม่หลับ เพราะมีฤทธิ์ทำให้นอนหลับง่ายขึ้น ผ่อนคลาย นอกจากนี้สารตัวนี้ยังไม่ส่งผลข้างเคียงหลังจากตื่นนอนอีกด้วย
- กัญชารักษาโรควิตกกังวล (Anxiety disorder)
วิจัยจากมหาวิทยาลัย Southern California ค้นพบว่า กัญชาสามารถช่วยรักษาโรควิตกกังวลได้ โดยได้ทำการสำรวจจากผู้เข้าร่วมทดลอง 4,400 คน พบว่าผู้ที่ใช้กัญชามีอาการซึมเศร้าน้อยลงกว่าผู้ที่ไม่ได้ใช้กัญชา”
บริการทางการแพทย์ของโรงพยาบาล BNH


โรงพยาบาล บีเอ็นเอช เป็นโรงพยาบาลเอกชนแห่งแรกที่เปิดทำการคลินิกกัญชาทางการแพทย์ ในรูปแบบการแพทย์แผนปัจจุบัน ด้วยเห็นถึงคุณประโยชน์และสรรพคุณในการบำบัดรักษาโรคโดยใช้กัญชาและกัญชงตลอดจนสมุนไพรต่างๆ โดยมีแพทย์ที่ผ่านการอบรบและได้รับอนุญาตให้ทำการจ่ายยาประเภทกัญชาทางการแพทย์ในสาขาต่างๆจำนวน 5 สาขาได้แก่ สาขาโรคผิวหนัง โรคทางสมองและระบบประสาท เวชศาสตร์ฟื้นฟู การแพทย์สาขากายภาพบำบัดและอาการปวด และอายุรแพทย์
ผู้ที่สนใจรักษาโดยวิธีธรรมชาติบำบัด หรือผู้ที่ใช้ยาทางเคมีและเกิดผลกระทบที่รุนแรงตามมา สามารถทดลองใช้กัญชาทางการแพทย์ภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญของโรงพยาบาลบีเอ็นเอชได้
โดยสามารถอ่านข้อมูล ติดต่อหรือทำการจองนัดได้ตามลิ้งค์รูปภาพข้างล่างนี้ เพื่อปรึกษาและรักษาตามอาการที่ตนมีโดยอยู่ภายใต้การดูแลของทีมแพทย์และพยาบาลผู้มีประสบการณ์


ผู้สูงอายุซึ่งกังวลต่ออาการเหนื่อยล้าของสมอง ความเครียด หรือโรคอัลไซเมอร์ สามารถใช้บริการหรือรับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญแผนก BOOCS@BNH ซึ่ง BOOCS เป็นนวัตกรรมจากญี่ปุ่นซึ่งนำเสนอบบริการต่างๆเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของสมอง เช่นเดียวกับพัฒนาและรักษาเซลล์สมองที่เสียหายขึ้นมาใหม่ และยังช่วยในเรื่องของการกระตุ้น PLASMALOGEN ซึ่งมีส่วนช่วยในการรักษาสุขภาพสมองและความเครียด


Plasmalogen Supplement คือ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่สกัดจากหอยเชลล์ญี่ปุ่น ซึ่งมีผลลัพธ์ในการฟื้นฟูสุขภาพสมอง โดยผลการศึกษายืนยันว่าการบำบัดด้วยการเพิ่มระดับของพลาสมาโลเจนและ DHA ช่วยให้อาการดีขึ้นในผู้ป่วยที่มีปัญหาเรื่องอัลไซเมอร์ โรคซึมเศร้า
ผู้ป่วยที่มีความกังวลเรื่อง อัลไซเมอร์ และ โรคซึมเศร้า สามารถรับประทาน Plasmalogen สูตรโรงพยาบาลบีเอ็นเอช ซึ่งร่วมมือกับประเทศญี่ปุ่นได้ Click
นักโภชนาการอาหาร
สำหรับผู้ที่ปัจจัยเรื่องอาหารมีส่วนสำคัญในการส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ทางโรงพยาบาล BNH มีทีมนักโภชนาการอาหารพร้อมด้วยประสบการณ์ คอยให้คำปรึกษาและดูแลตลอดการรักษา