
เลือกหัวข้อที่ต้องการอ่าน

อันตรายที่ผู้หญิง วัย 50 + ไม่ควรมองข้าม
ตรวจเช็คระบบทางเดินอาหาร ลดความเสี่ยงต่อโรคร้าย
ทำไมต้องตรวจคัดกรองความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่?
มะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นสาเหตุสำคัญอันดับต้น ๆ ที่ทำให้ประชากรทั่วโลกเสียชีวิต ซึ่งจากข้อมูลสถิติสาธารณสุข ปี 2563 พบว่ามะเร็งลำไส้เป็นมะเร็งที่พบบ่อยผู้หญิงไทยเป็นอันดับที่ 3 รองจากมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก
โรคมะเร็งในระบบทางเดินอาหาร เกิดขึ้นได้ในกลุ่มคนทั่วไป และมักจะไม่แสดงอาการในระยะเริ่มต้น แต่หากผู้หญิงอย่างเรายังดำเนินชีวิตประจำวันโดยไม่ตระหนักถึงอันตรายที่จะเกิดขึ้น อาจเกิดอันตรายที่คาดไม่ถึง เพราะโดยส่วนใหญ่กว่าคนไข้จะพบว่าตนเองเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ก็มักจะเป็นระยะท้าย ซึ่งยากต่อการรักษาและอาจจะส่งผลถึงชีวิต
ดังนั้นผู้เชี่ยวชาญจึงแนะนำให้ผู้ที่มีอายุ 45-50 ปีขึ้นไป ตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่โดยการส่องกล้อง ถึงแม้ว่าจะไม่มีอาการผิดปกติก็ตาม และหากมีญาติสายตรงเป็นโรคมะเร็ง หรือมีอาการผิดปกติควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุของอาการ อย่าปล่อยไว้จนสายเกินไป
มะเร็งลำไส้ใหญ่… ยิ่งรู้เร็ว ยิ่งดี เพราะมีโอกาสรักษาหายได้
ส่องกล้องทางเดินอาหาร คือ อะไร?
การส่องกล้องทางเดินอาหาร แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ การส่องกล้องลำไส้ใหญ่ส่วนล่าง (Colonoscopy) และการส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบน (Gastroscopy) ซึ่งการส่องกล้องทั้ง 2 ประเภทนี้ คือการตรวจความผิดปกติของทางเดินอาหารที่มีความแม่นยำสูง
การส่องกล้องลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy) คือ การส่องกล้องเข้าไปทางทวารหนัก เพื่อดูลักษณะของลำไส้ใหญ่ โดยใช้กล้องชนิดอ่อนขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางที่ใหญ่กว่า 10 – 13 มิลลิเมตร และยาว 160 – 180 เซนติเมตร โดยจะสามารถตรวจโรคทางทวารหนักและลำไส้ใหญ่ทั้งหมดได้ กล้องสามารถตรวจได้จากทวารหนัก (Anus) ลำไส้ส่วนปลาย (Rectum) ลำไส้ใหญ่ (Colon) ทำให้สามารถวินิจฉัยโรคของลำไส้ใหญ่ เช่น เนื้องอกในลำไส้ใหญ่ แผลในลำไส้ใหญ่ ได้ถูกต้องแม่นยำขึ้น สามารถหาสาเหตุของเลือดออกในลำไส้ใหญ่ได้ และสามารถตัดชิ้นเนื้อที่ผิดปกติออกมาตรวจได้
นอกจากนี้เรายังใช้เครื่องมือนี้ในการรักษาโรคบางอย่างได้ เช่น การตัดเอาเนื้องอกที่มีลักษณะเป็นติ่งเนื้อที่ยื่นเข้ามาในลำไส้ใหญ่ โดยไม่ต้องทำการผ่าตัดทางหน้าท้องเหมือนปกติ แพทย์จะพิจารณาให้ยาลดระดับความรู้สึกในระดับปานกลาง ลดปวด และคลายกังวลระหว่างตรวจ โดยการฉีดยา โดยในบางรายถ้าจำเป็นอาจต้องให้หลับลึก หรืออาจต้องดมยาสลบ
ทำไมต้องส่องกล้องที่ โรงพยาบาลบีเอ็นเอช
- มีทีมแพทย์และพยาบาลผู้เชี่ยวชาญมากประสบการณ์ทางระบบทางเดินอาหาร ทั้งคุณหมอผู้ชายและคุณหมอผู้หญิง คอยดูแลอย่างใกล้ชิด หมดกังวลเรื่องเขินอาย
- มีเครื่องมือที่ทันสมัย ส่องกล้องด้วย AI เทคโนโลยีจากญี่ปุ่น
- มีห้องพักสำหรับการเตรียมตัวส่องกล้องแบบส่วนตัว หมดความกังวลแม้คุณมาเองเพียงลำพัง
- ทีมพยาบาลเฉพาะทางดูแล และเตรียมยาระบายให้ท่าน ตามกระบวนการและเวลาที่เหมาะสม หมดกังวลเรื่องถ่ายยาก ถ่ายไม่หมด หรือปวดขับถ่ายระหว่างเดินทาง
- หากตรวจพบความผิดปกติสามารถดูแล รักษาได้ตั้งแต่ต้นจนจบ
- สะดวก สบาย ครบ จบใน 1 วัน ทั้งการเตรียมลำไส้และการส่องกล้อง
"ให้ศูนย์ทางเดินอาหารเรา ได้ดูแลทางเดินอาหารคุณ"
การตรวจส่องกล้องเจ็บหรือไม่ ?
นี่เป็นคำถามยอดฮิตที่คนไข้แทบทุกรายจะถามเข้ามา ขอให้ท่านวางใจได้เลย เพราะโรงพยาบาลเราจะมีวิสัญญีแพทย์(คุณหมอเฉพาะทางด้านการดมยา) มาให้ยาระงับความรู้สึกจนคนไข้หลับ ก่อนที่คุณหมอผู้เชี่ยวชาญด้านทางเดินอาหารจะเริ่มส่องกล้องให้ท่านด้วย AI เทคโนโลยี จากญี่ปุ่น คนไข้จะรู้สึกตัวอีกครั้งเมื่อส่องกล้องเสร็จ ดังนั้นในขณะส่องกล้องคนไข้จะไม่รู้สึกเจ็บ และในกรณีที่ตรวจพบติ่งเนื้อหรือเนื้องอก คุณหมอก็สามารถทำการตัดเนื้องอกออกได้ทันที พร้อมส่งตรวจติ่งเนื้อเพื่อวินิจฉัยโรคต่อไป โดยไม่มีอาการเจ็บปวดใด ๆ
การส่องกล้องลำไส้ใหญ่มีขั้นตอนอย่างไร?
แพทย์จะใช้กล้องที่มีลักษณะคล้ายท่อขนาดเล็ก ปรับโค้งงอได้ เส้นผ่าศูนย์กลางที่ใหญ่กว่า 10 – 13 มิลลิเมตร และยาว 160 – 180 เซนติเมตร ปลายกล้องจะมีเลนส์ขยายภาพ และมีแสงไฟที่ปลายกล้อง สอดกล้องช้า ๆ ผ่านทวารหนัก ลำไส้ใหญ่จนถึงลำไส้เล็กส่วนปลาย เพื่อดูตรวจดูความผิดปกติของผนังลำไส้ โดยใช้เวลาประมาน 30-45 นาที และหากพบความผิดปกติหรือรอยโรคในลำไส้ใหญ่ แพทย์อาจตัดชิ้นเนื้อไปตรวจทางพยาธิวิทยาเพิ่มเติมและสามารถตัดเนื้องอกที่มีขนาดไม่ใหญ่ออกได้
ใครบ้างที่จัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยง?
ผู้ที่มี 7 สัญญาณเตือน เหล่านี้
- ขับถ่ายผิดปกติ (ท้องผูกสลับท้องเสีย)
- ถ่ายไม่สุด / อุจจาระลำบากหรืออุจจาระลำเล็กลง / ปวดเบ่งในช่องทวารหนัก
- ถ่ายอุจจาระมีมูกเลือดปน
- ปวดท้องเรื้อรัง
- ท้องอืด ท้องแน่นตลอดเวลา
- อาจคลำเจอก้อนในช่องท้อง
- อาการอื่นๆที่ไม่ทราบสาเหตุ เช่น ร่างกายอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด
ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งลำไส้ใหญ่ดังต่อไปนี้
- มีอายุ 50 ปีขึ้นไป
- คนในครอบครัวมีประวัติเป็นมะเร็งลำไส้
- เคยส่องกล้องลำไส้ใหญ่และพบติ่งเนื้อ
- เป็นลำไส้อักเสบเรื้อรัง (Ulcerative Colitis)
- มีพฤติกรรมการบริโภคที่เพิ่มความเสี่ยงของมะเร็งลำไส้ใหญ่ เช่น บริโภคอาหารที่มีสารก่อมะเร็งเป็นประจำ (จำพวกเนื้อแดง หรืออาหารปิ้งย่าง อาหารที่มีไขมันสูง และที่มีกากใยต่ำดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่)