
ส่องกล้องทางเดินอาหาร Colonoscopy คือ อะไร?
การส่องกล้องทางเดินอาหาร แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ การส่องกล้องลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy) และการส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบน (Gastroscopy) : การส่องกล้องลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy)
คือ การส่องกล้องเข้าไปทางทวารหนัก เพื่อดูลักษณะของลำไส้ใหญ่ โดยใช้กล้องชนิดอ่อนขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางที่ใหญ่กว่า 10 – 13 มิลลิเมตร และยาว 160 – 180 เซนติเมตร โดยจะสามารถตรวจโรคทางทวารหนักและลำไส้ใหญ่ทั้งหมดได้
กล้องสามารถตรวจได้จากทวารหนัก (Anus) ลำไส้ส่วนปลาย (Rectum) ลำไส้ใหญ่ (Colon) ทำให้สามารถวินิจฉัยโรคของลำไส้ใหญ่
เช่น เนื้องอกในลำไส้ใหญ่ แผลในลำไส้ใหญ่ ได้ถูกต้องแม่นยำขึ้น สามารถหาสาเหตุของเลือดออกในลำไส้ใหญ่ได้ และสามารถตัดชิ้นเนื้อที่ผิดปกติออกมาตรวจได้
นอกจากนี้เรายังใช้เครื่องมือนี้ในการรักษาโรคบางอย่างได้ เช่น การตัดเอาเนื้องอกที่มีลักษณะเป็นติ่งเนื้อที่ยื่นเข้ามาในลำไส้ใหญ่ โดยไม่ต้องทำการผ่าตัดทางหน้าท้องเหมือนปกติ
แพทย์จะพิจารณาให้ยาลดระดับความรู้สึกในระดับปานกลาง ลดปวด และคลายกังวลระหว่างตรวจ โดยการฉีดยา โดยในบางรายถ้าจำเป็นอาจต้องให้หลับลึก หรืออาจต้องดมยาสลบ

1. ทำไมต้องส่องกล้องลำไส้ใหญ่ Colonoscopy
เพราะความผิดปกติของระบบทางเดินอาหารในระยะเริ่มต้น อาจจะไม่มีอาการแสดงที่ชัดเจน
หรือถ้ามีแต่ละโรคก็อาจจะมีอาการคล้ายคลึงกัน ดังนั้นการตรวจส่องกล้องคัดกรองโรคทางเดินอาหารและลำไส้จึงเป็นวิธีบ่งชี้ความผิดปกติที่ดีที่สุด
2. ข้อดีของการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่
คือ สามารถเข้าไปตรวจดูภายในตลอดทั้งลำไส้ใหญ่และลำไส้เล็กส่วนปลายได้โดยไม่ต้องทำการผ่าตัด
ซึ่งจะช่วยหยุดยั้งโรคร้ายได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ แม้ว่าจะมีอาการเล็กน้อย หรือไม่มีอาการเลย โดยถ้าตรวจพบความผิดปกติ เช่น พบติ่งเนื้อ เนื้องอก
ก็สามารถตัดชิ้นเนื้อออกมาตรวจได้เลยผ่านการส่องกล้อง หรือหากพบเลือดออกในลำไส้ก็สามารถทำการหยุดเลือดได้ทันที
- มีความปลอดภัยสูง
- แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคได้อย่างละเอียดและถูกต้อง มีความแม่นยำในการตรวจหาเนื้องอก
- กรณีที่พบติ่งเนื้อ หรือเนื้องอก แพทย์สามารถทำการรักษาได้ทันที
- สามารถตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจทางพยาธิวิทยาได้ทันที กรณีที่สงสัยว่าอาจจะมีเนื้อร้าย
- ไม่มีบาดแผลจากการผ่าตัด
การตรวจอย่างละเอียดด้วยการส่องกล้องตรวจภายในลำไส้ใหญ่ ช่วยคัดกรองความผิดปกติที่เกิดขึ้นในลำไส้ได้อย่างแม่นยำ
หากตรวจพบติ่งเนื้อหรือก้อนเนื้อได้เร็ว จะสามารถทำการรักษาได้ทันท่วงที แพทย์สามารถตัดติ่งเนื้อออกได้ตั้งแต่ยังไม่กลายเป็นเซลล์มะเร็ง ช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย และไม่ต้องทรมานกับการรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่
3.ตรวจส่องกล้องลำไส้ใหญ่ช่วยป้องกันมะเร็งลำไส้ได้จริงหรือ?
การตรวจอย่างละเอียดด้วยการส่องกล้องตรวจภายในลำไส้ใหญ่ ช่วยคัดกรองความผิดปกติที่เกิดขึ้นในลำไส้ได้อย่างแม่นยำ
หากตรวจพบติ่งเนื้อหรือก้อนเนื้อได้เร็วจะสามารถทำการรักษาได้ทันท่วงที แพทย์สามารถตัดติ่งเนื้อออกได้ตั้งแต่ยังไม่กลายเป็นเซลล์มะเร็ง ช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย และไม่ต้องทรมานกับการรักษาด้วยเคมีบำบัด
คนไข้สามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ ไม่ต้องใส่ถุงจิงโจ้หน้าท้องที่ทำให้การใช้ชีวิตแสนจะลำบาก เสียบุคลิก ต้องคอยระวังเรื่องกลิ่น เรื่องอุจจาระล้นถุง เพราะการส่องกล้องลำไส้ใหญ่เป็นวิธีการที่ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่อย่างได้ผล
4. ใครบ้าง ? ควรทำการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่
- ขับถ่ายผิดปกติ (ท้องผูกสลับท้องเสีย)
- ถ่ายอุจจาระมีมูกเลือดปน
- ปวดท้องเรื้อรัง
- อาจคลำเจอก้อนในช่องท้อง
- อาการอื่นๆที่ไม่ทราบสาเหตุ เช่น ร่างกายอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ถ่ายไม่สุด / อุจจาระลำบากหรือลำเล็กลง / ปวดเบ่งในช่องทวารหนัก
- หรือหากคุณมีปัจจัยเสี่ยงดังต่อไปนี้
- มีอายุ 50 ปีขึ้นไป
- มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งลำไส้
- เคยส่องกล้องลำไส้ใหญ่และพบติ่งเนื้อ
- เป็นลำไส้อักเสบเรื้อรัง (Ulcerative Colitis)
-
มีพฤติกรรมการบริโภคที่เพิ่มความเสี่ยงของมะเร็งลำไส้ใหญ่เช่น บริโภคอาหารที่มีสารก่อมะเร็งเป็นประจำ (จำพวกเนื้อแดง หรืออาหารปิ้งย่าง อาหารที่มีไขมันสูง และที่มีกากใยต่ำดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่)

5. ข้อดีของการมาส่องกล้องที่โรงพยาบาลบีเอ็นเอช
- สะดวก อุ่นใจ เพราะมีแพทย์และพยาบาลผู้เชี่ยวชาญด้านระบบทางเดินอาหารคอยดูแลอย่างใกล้ชิด
- มีห้องพักส่วนตัว สำหรับการเตรียมตัว และพักผ่อนระหว่างทานยาระบาย
- ทีมพยาบาลเตรียมยาระบายให้ท่าน ตามกระบวนการและเวลาที่เหมาะสม หมดกังวลเรื่องถ่ายยาก ถ่ายไม่หมด หรือปวดขับถ่ายระหว่างเดินทาง
6. คำถามที่พบบ่อย
ส่องกล้องลำไส้ ต้องการมีการเตรียมลำไส้ก่อนการส่องกล้อง เพื่อความแม่นยำและมีประสิทธิภาพสูงสุด – แนะนำให้รับประทานอาหารอ่อนและงดอาหารที่มีกากใยล่วงหน้า 2วัน – ช่วง 1 วันก่อนการส่องกล้อง แนะนำให้รับประทานอาหารเหลวใส เช่น โจ้กหรือข้าวต้ม และคนไข้ทานยาระบาย เพื่อให้ลำไส้สะอาดจนสามารถตรวจหาเนื้องอกในลำไส้และทำการรักษาได้ครบถ้วน
*กรณีที่คนไข้รับประทานยาต้านเกล็ดเลือดหรือยาละลายลิ่มเลือด จะมีการประเมินความปลอดภัยและเวลาที่เหมาะสมในการหยุดยาล่วงหน้า ได้แก่ หยุดยา Aspirin, Clopidogrel ก่อนส่องกล้อง 5-7 วัน

แพทย์จะใช้กล้องที่มีลักษณะคล้ายท่อขนาดเล็ก ปรับโค้งงอได้ เส้นผ่าศูนย์กลางที่ใหญ่กว่า 10 – 13 มิลลิเมตร และยาว 160 – 180 เซนติเมตร ปลายกล้องจะมีเลนส์ขยายภาพ และมีแสงไฟที่ปลายกล้อง สอดกล้องช้า ๆ ผ่านทวารหนัก ลำไส้ใหญ่จนถึงลำไส้เล็กส่วนปลาย เพื่อดูตรวจดูความผิดปกติของผนังลำไส้
การส่องกล้องลำไส้ใหญ่ใช้เวลาประมาน 30-45 นาที
ส่องกล้องลำไส้ใหญ่เจ็บไหม ?
ก่อนเริ่มส่องกล้องแพทย์จะให้ยาระงับความรู้สึกจนคนไข้หลับก่อน คนไข้จะรู้สึกตัวอีกครั้งเมื่อส่องกล้องเสร็จ ดังนั้นในขณะส่องกล้องคนไข้จะไม่รู้สึกเจ็บ
บางท่านแค่ได้ยินการส่องกล้องก็กลัวแล้ว แต่ในความเป็นจริงการตรวจส่องกล้องนั้นไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด ท่านสามารถคลิกเข้าดู ขั้นตอนและการเตรียมตัวส่องกล้องลำไส้ใหญ่ ได้ที่นี่

แพทย์สามารถทำการตัดได้ทันที ผ่านการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ และส่งตรวจติ่งเนื้อเพื่อวินิจฉัยโรคต่อไป
มีข้อมลูพบว่าการส่องกล้องลำไส้ใหญ่และตัดติ่งเนื้อสม่ำเสมอ สามารถลดอัตราการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ ส่องกล้องลำไส้ใหญ่ถือเป็นการตรวจที่ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่อย่างดี
หากแพทย์พิจารณาแล้วว่าผู้ป่วยต้องเข้ารับการตรวจส่องกล้องลำไส้ใหญ่ สามารถทำนัดวันเวลาที่คนไข้สะดวก ก่อนส่องกล้องจะมีการทานยาระบายเตรียมลำไส้ก่อนส่องกล้อง เพื่อความแม่นยำและประสิทธิภาพในส่องกล้องลำไส้ใหญ่
ในแพ็คเกจส่องกล้องรวมค่ายาระบาย ยาระงับความรู้สึก ค่าห้องส่องกล้อง ค่าห้องพักฟื้น ค่าแพทย์ทำหัตถการ อุปกรณ์จำเป็นในห้องส่องกล้องทั้งหมด หากแพทย์ตรวจพบติ่งเนื้อ จะมีค่าอุปกรณ์การตัดชิ้นเนื้อและการส่งตรวจวินิจฉัยติ่งเนื้อเพิ่มเติม
เนื่องจากแพ็คเกจนี้เป็นราคาพิเศษ เป็นการตรวจคัดกรองจะไม่สามารถใช้เบิกประกันได้ ทั้งนี้หากคนไข้มีประกันแนะนำให้ปรึกษาแพทย์ก่อน
การส่องกล้องทางเดินอาหารมีความปลอดภัยสูงมาก คนไข้จะได้รับการประเมินร่างกายและอาการอย่างละเอียดก่อนส่องกล้อง เพื่อให้มั่นใจว่าจะเกิดประโยชน์และความปลอดภัยสูงที่สุด
อาการหลังส่องกล้อง ?
ส่วนใหญ่จะไม่มีอาการปวด ส่วนน้อยอาจมีอาการแน่นท้องเล็กน้อย จะหายในภาย 24 ชั่วโมง หากมีการตัดติ่งเนื้อโอกาสเกิดเลือดออกจากบริเวณที่ตัดติ่งเนื้อ ได้โดยปกติไม่รุนแรง สามารถหยุดได้เอง โอกาสน้อยมากที่จะมีเลือดออกรุนแรงหลังส่องกล้อง
คนไข้สามารถเตรียมลำไส้โดยการทานยาระบายมาจากที่บ้านได้ และเช้าวันส่องกล้องมาถึงโรงพยาบาลก่อนเวลาส่องกล้อง 30 นาที เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนส่องกล้อง หลังจากส่องกล้องเสร็จจะพักฟื้นประมาณ 1 ชั่วโมงเพื่อติดตามอาการหลังส่องกล้องและประเมินสัญญาณชีพอย่างใกล้ชิดโดยทีมแพทย์และพยาบาลวิชาชีพ คนไข้จะทราบผลการตรวจและสามารถกลับบ้านได้
8. สรุป
การส่องกล้องลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy) คือ การส่องกล้องเข้าไปทางทวารหนัก เพื่อดูลักษณะและความผิดปกติของลำไส้ใหญ่ ซึ่งสามารถเข้าไปตรวจดูภายในตลอดทั้งลำไส้ใหญ่และลำไส้เล็กส่วนปลายได้โดยไม่ต้องทำการผ่าตัด ช่วยคัดกรองความผิดปกติที่เกิดขึ้นในลำไส้ได้อย่างแม่นยำ ถือเป็นวิธีการที่ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่อย่างได้ผล ซึ่งจะช่วยหยุดยั้งโรคร้ายได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ แม้ว่าจะมีอาการเล็กน้อย หรือไม่มีอาการเลย หากตรวจพบติ่งเนื้อหรือก้อนเนื้อได้เร็วจะสามารถทำการรักษาได้ทันท่วงที ประหยัดค่าใช้จ่าย และไม่ต้องทรมานกับการรักษาด้วยเคมีบำบัด คนไข้สามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ