fbpx

ขั้นตอนและการเตรียมตัวส่องกล้องลำไส้ใหญ่

ส่องกล้องไม่หน้ากลัวอย่างที่คิด รวดเร็ว เจ็บน้อย ฟื้นไว

     การเตรียมตัวส่องกล้องลำไส้ใหญ่ ถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญมาก  เพราะนอกจากจะช่วยให้เห็นรอยโรคชัดเจนแล้ว ยังช่วยให้แพทย์วินิจฉัยโรคเบื้องต้นได้อย่างทันท่วงที ดังนั้นผู้ที่เข้ารับการส่องกล้อง มีความจำเป็นต้องเตรียมตัวก่อนเข้ารับการส่องกล้อง เพื่อประสิทธิภาพที่ดี และเป็นประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เข้ารับรักษา 

ส่องกล้องลำไส้ใหญ่ที่โรงพยาบาลบีเอ็นเอชกับบริการแบบ One Day Service

มีพยาบาลเฉพาะทางเป็นผู้ดูแลในการเตรียมตัวก่อนส่องกล้องในวันที่เข้ารับการตรวจ หมดห่วงแม้ถ่ายยาก อุ่นใจ หลับสบาย ตื่นมาสดชื่น feel good

2.1ขั้นตอนและการเตรียมตัวก่อนส่องกล้อง

  • กรณีมีโรคประจำตัวและยาที่ต้องใช้ประจำ ให้ปรึกษาแพทย์ เพื่อพิจารณาในการหยุดยาบางตัวที่มีผลต่อการส่องกล้องตรวจ จำพวกยาละลายลิ่มเลือด เช่น Aspirin, Warfarin, Ticlid , Clopidrogrel หรือ NSAID (Non-steroidal anti -inflammatory drugs) วิตามินอี Fish oil อย่างน้อย 5 วัน ก่อนทำการตรวจ
  • ทานอาหารอ่อน ย่อยง่าย งดทานผักผลไม้ ล่วงหน้า 2 วัน เพื่อเตรียมลำไส้
  • ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบทางเดินอาหาร ผ่าน Video call ฟรี ก่อนเข้ารับการส่องกล้อง (ซักประวัติโรคประจำตัว อธิบายแผนการตรวจรักษา ข้อบ่งชี้ ภาวะแทรกซ้อน) แจ้งแพทย์หากท่านแพ้ยา หรือมีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ
  • หลังจากปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเรียบร้อยแล้วจะมีพยาบาลเฉพาะทางติดต่อกลับ เพื่อแนะนำช่องทางสำหรับดูวิธีการเตรียมตัว และทำนัดวันเข้ารับการส่องกล้อง
  • งดเนื้อสัตว์ งดน้ำผลไม้สีเข้ม เช่น น้ำองุ่น ซุปไก่สกัด นมทุกชนิด   แนะนำให้ทานเพียงอาหารเหลวใส เช่น ซุปใส น้ำผลไม้ หรือเยลลี่ 1 วันก่อนตรวจ
  • เข้ามาเตรียมลำไส้ที่โรงพยาบาลภายใต้การดูแลของพยาบาลเฉพาะทางในช่วงเช้า และเข้ารับการส่องกล้องจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบทางเดินอาหารในช่วงบ่าย (ในกรณีที่คนไข้สะดวกเลือกทานยาที่บ้านทางโรงพยาบาลมีบริการจัดส่งยาไปให้ที่บ้านฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย)
  • เข้ารับการส่องกล้อง โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบทางเดินอาหาร
  • ฟังผลจากแพทย์ ณ วันส่องกล้อง

คำแนะนำหลังการส่องกล้อง

1.งดการขับรถหรือทำงานในวันที่มารับการส่องกล้องตรวจ เนื่องจากแพทย์จะให้ยานอนหลับผู้ป่วยขณะส่องกล้อง จึงต้องมีผู้ดูแลพาผู้ป่วยกลับบ้าน
2.ปฎิบัติตัวตามที่แพทย์แนะนำ และมาพบแพทย์ตามนัดหมายเพื่อติดตามอาการ
ข้อดี
  • สะดวก อุ่นใจ เพราะมีแพทย์และพยาบาลผู้เชี่ยวชาญด้านระบบทางเดินอาหารคอยดูแลอย่างใกล้ชิด
  • มีห้องพักส่วนตัว สำหรับการเตรียมตัว และพักผ่อนระหว่างทานยาระบาย 
  • ทีมพยาบาลเตรียมยาระบายให้ท่าน ตามกระบวนการและเวลาที่เหมาะสม หมดกังวลเรื่องถ่ายยาก ถ่ายไม่หมด หรือปวดขับถ่ายระหว่างเดินทาง

2.2 ขั้นตอนในวันเข้ารับบริการส่องกล้องลำไส้ใหญ่

วันที่ทำการส่องกล้อง

  • เมื่อท่านมาถึงโรงพยาบาลบีเอ็นเอช (กรุณาติดต่อที่ศูนย์ระบบทางเดินอาหารและตับ ชั้น 3)
  • เข้ารับการประเมิน ซักประวัติสุขภาพอย่างละเอียด และเตรียมลำไส้ที่โรงพยาบาลภายใต้การดูแลของพยาบาลเฉพาะทางในช่วงเช้า และเข้ารับการส่องกล้องจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบทางเดินอาหารเมื่อลำไส้พร้อม (เวลาส่องกล้องอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเวลาในการสวนล้างลำไส้)
  • (สำหรับท่านที่เตรียมตัวมาจากที่บ้าน เข้ารับการประเมิน ซักประวัติสุขภาพอย่างละเอียด และทำการสวนอุจจาระอีกครั้งก่อนเข้าห้องตรวจ เพื่อประสิทธิภาพของการส่องกล้อง เวลาส่องกล้องอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเวลาในการสวนล้างลำไส้)
  • เริ่มทำกระบวนการส่องกล้อง
  • กระบวนการตรวจลำไส้ใหญ่

    1.       ผู้ป่วยนอนตะแคงซ้ายในท่างอเข่าชิดกับหน้าอก
    2.       แพทย์ให้ยานอนหลับและอาจให้ยาแก้ปวดร่วมด้วย จากนั้นแพทย์จะใส่กล้องส่องตรวจเข้าทวารหนักเพื่อตรวจลำไส้ใหญ่ ใช้เวลาในการทำประมาน 25-30 นาที
    3.       หากพบความผิดปกติหรือรอยโรคในลำไส้ใหญ่ แพทย์อาจตัดชิ้นเนื้อไปตรวจทางพยาธิวิทยาเพิ่มเติมและสามารถตัดเนื้องอกที่มีขนาดไม่ใหญ่ได้
    4.       หลังส่องกล้องเสร็จผู้ป่วยจะได้รับการดูแลต่อที่ห้องพักฟื้น 1 – 2 ชั่วโมง หรือจนตื่นดี
    5.       ฟังผลตรวจ : สามารถฟังผลการส่องกล้องได้ภายในวันที่มารับการส่องกล้อง

     

    หมายเหตุ
  • งดการขับรถหรือทำงานในวันที่มารับการส่องกล้องตรวจ เนื่องจากแพทย์จะให้ยานอนหลับผู้ป่วยขณะส่องกล้อง จึงต้องมีผู้ดูแลพาผู้ป่วยกลับบ้าน
  • ผู้ป่วยต้องเซ็นต์ชื่อลงในใบยินยอมก่อนการตรวจ ในกรณีที่ท่านมีอายุน้อยกว่า 20 ปีจะต้องให้ผู้ปกครองเซ็นต์ชื่อในใบยินยอมแทน โดยแพทย์จะเป็นผู้อธิบายให้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับประโยชน์ที่ได้ และภาวะแทรกซ้อนของหัตถการดังกล่าว
  • ก่อนได้รับการตรวจ หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับยาที่ใช้ประจำว่าจะมีผลต่อการตรวจหรือไม่ให้ปรึกษาแพทย์ผู้ตรวจ

    คำถามที่พบบ่อย

    Q : การเตรียมตัวส่องกล้องกระเพาะอาหารและลำไส้ 

    A : การเตรียมตัวส่องกล้องกระเพาะอาหารผู้ป่วยต้องงดน้ำงดอาหาร 6-8 ชั่วโมง ส่วนการเตรียมตัวก่อนส่องกล้องลำไส้ใหญ่ ควรงดน้ำและอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมง และรับประทานยาระบายก่อนตรวจ

    กรณีที่ผู้ป่วยทานยากลุ่มละลายลิ่มเลือด การแข็งตัวของเม็ดเลือด แนะนำให้งดก่อนส่องกล้อง 5-7 วัน หรือเข้ามาพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายก่อนส่องกล้อง

    Q : หลังส่องกล้องจะมีอาการอย่างไร จำเป็นต้องนอนค้างที่โรงพยาบาลหรือไม่ 

    A : หลังส่องกล้องอาจมีอาการง่วงซึมจากยา แพทย์จะให้นอนพักฟื้นเพื่อสังเกตอาการ หากไม่มีอาการใด ๆ จะอนุญาตให้กลับบ้านได้ แต่จะไม่แนะนำให้ขับรถเอง

    เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

    ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

    คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง

    ยินยอมทั้งหมด
    จัดการความเป็นส่วนตัว
    • คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง
      เปิดใช้งานตลอด

      เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับเว็บไซต์ของเรา เนื่องจากคุกกี้เหล่านี้ทำให้เว็บเซิร์ฟเวอร์สามารถตอบสนองต่อการกระทำของท่านได้ อีกทั้งยังช่วยในการแสดงผลหน้าเว็บต่อท่าน และยังรวมถึงมอบประสบการณ์ที่สอดคล้องในระหว่างการท่องเว็บไซต์ คุกกี้เหล่านี้จะคงอยู่จนกว่าจะสิ้นสุดการเยี่ยมชมของท่านและจะถูกลบอัตโนมัติทันที
      รายชื่อคุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง

    • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์/เพื่อประสิทธิภาพ

      ช่วยให้เราสามารถตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงานของเว็บไซต์ของเราด้วยจำนวนครั้งการเข้าดูหน้าเว็บและจำนวนผู้เข้าใช้งานเว็บไซต์ โดยบริการวิเคราะห์เว็บจะวิเคราะห์รูปแบบพฤติกรรมของผู้ใช้ ซึ่งเราจะใช้ข้อมูลดังกล่าวในการปรับปรุงประสบการณ์การใช้งานของผู้ใช้หรือค้นหาส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ที่ควรได้รับการปรับปรุง อย่างไรก็ตามข้อมูลดังกล่าวไม่สามารถระบุถึงตัวบุคคลได้ (กล่าวคือ เป็นข้อมูลที่ไม่สามารถใช้เพื่อระบุตัวตนของท่านและไม่มีการเก็บรวบรวมหรือประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ชื่อ และที่อยู่อีเมลของท่าน) และข้อมูลเหล่านี้ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางสถิติเท่านั้น
      รายชื่อคุกกี้เพื่อการวิเคราะห์/เพื่อประสิทธิภาพ

    • คุกกี้เพื่อช่วยในการใช้งาน

      ช่วยให้เรารับรู้เมื่อท่านกลับมาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา ด้วยข้อมูลนี้เราจึงสามารถปรับแต่งเว็บไซต์ของเราให้เป็นไปตามความต้องการของท่านได้ เพื่ออำนวยความสะดวกในการเยี่ยมชมของท่านให้มีประสิทธิภาพและเฉพาะเจาะจงสำหรับท่านมากขึ้น ซึ่งโดยทั่วไปแล้วข้อมูลที่รวบรวมโดยคุกกี้เหล่านี้จะไม่สามารถระบุตัวตนของท่านได้
      รายชื่อคุกกี้เพื่อช่วยในการใช้งาน

    • คุกกี้เพื่อการโฆษณา

      จะอยู่บนอุปกรณ์ของท่านเพื่อบันทึกหน้าเว็บไซต์หรือลิงค์ที่ท่านได้เยี่ยมชมหรือติดตาม ข้อมูลที่ได้จะถูกใช้เพื่อปรับแต่งเว็บไซต์ของเราและแคมเปญโฆษณาของเราเพื่อให้เหมาะกับความสนใจของท่าน
      คุกกี้เพื่อการโฆษณา

    บันทึก