ภาวะสมองเสื่อมเป็นคำทั่วไปสำหรับภาวะการสูญเสียความทรงจำ ความเข้าใจในภาษาลดลง ความสามารถในการแก้ปัญหาต่างๆ และความสามารถในการคิดอื่นๆ ลดลง ซึ่งรุนแรงถึงขั้นรบกวนการดำเนินชีวิตประจำวัน
โรคสมองเสื่อมไม่ใช่คำอธิบายโรคเฉพาะเจาะจง แต่เป็นคำทั่วไปที่ใช้อธิบายความบกพร่องในการจดจำ การคิด หรือตัดสินใจ ซึ่งมีผลรบกวนการดำเนินกิจกรรมประจำวัน โรคอัลไซเมอร์เป็นโรคสมองเสื่อมชนิดหนึ่งที่พบได้บ่อยที่สุด แม้ว่าภาวะสมองเสื่อมจะส่งผลกระทบต่อผู้สูงอายุเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็ไม่ใช่เป็นภาวะของการแก่ชราตามปกติ
ในบรรดาผู้ที่มีอายุมากกว่าหรือเท่ากับ 65 ปี มีผู้ใหญ่ประมาณ 5.0 ล้านคนที่มีภาวะสมองเสื่อมในปี 2014 และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็นเกือบ 14 ล้านคนในปี 2060
คำตอบคือ ไม่ใช่
ผู้สูงอายุจำนวนมากใช้ชีวิตทั้งชีวิตโดยไม่มีภาวะสมองเสื่อม ภาวะแก่ชราตามปกติอาจรวมถึงกล้ามเนื้อและกระดูกที่อ่อนแอลง เกิดการแข็งตัวของหลอดเลือดแดงและหลอดเลือดดำ และมีการเปลี่ยนแปลงของความจำเล็กน้อย ยกตัวอย่างเช่น
– วางกุญแจรถผิดที่ในบางครั้ง
– พยายามหาคำพูด แต่นึกออกได้ในภายหลัง
– ลืมชื่อคนรู้จัก
– ลืมเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้นล่าสุด
โดยปกติแล้ว ความรู้และประสบการณ์ที่สร้างขึ้นมาเป็นเวลาหลายปี ความทรงจำเก่าๆ และภาษาจะยังคงไม่เปลี่ยนแปลง
ผู้ที่เป็นโรคสมองเสื่อมมักมีปัญหาเกี่ยวกับ:
– ความทรงจำ
– การให้ความตั้งใจ/ใส่ใจ/การใช้สมาธิ
– การสื่อสาร
– การใช้เหตุผล การตัดสินใจ และการแก้ปัญหา
– การรับรู้ แสดงความรู้สึกทางสายตา
– หลงทางในย่านที่คุ้นเคย
– การใช้คำที่ผิดปกติเพื่ออ้างถึงสิ่งของที่คุ้นเคย
– ลืมชื่อสมาชิกในครอบครัวหรือเพื่อนที่สนิท
– ลืมความทรงจำเก่าๆ
– ไม่สามารถทำงานให้เสร็จได้ด้วยตัวเอง
สัญญาณของระยะสุดท้ายของภาวะสมองเสื่อมมีดังต่อไปนี้:
– ไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้
– ไม่สามารถพูดหรือสื่อสารให้คนอื่นเข้าใจได้
– มีปัญหาการกิน เช่น กลืนลำบาก
แม้ว่าผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลแบบประคับประคองจะมีประสบการณ์ที่เกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงระยะสุดท้ายของชีวิตและอาจคาดเดาเวลาที่เหลือได้ แต่ก็ยากที่จะคาดเดาได้อย่างแน่ชัดว่าคนๆ หนึ่งจะเหลือเวลาอีกเท่าไร
ภาวะสมองเสื่อมเกิดจากเซลล์สมองถูกทำลาย ความเสียหายนี้ขัดขวางความสามารถของเซลล์สมองในการสื่อสารระหว่างกัน เมื่อเซลล์สมองไม่สามารถสื่อสารได้ตามปกติ ความคิด พฤติกรรม และความรู้สึกก็จะได้รับผลกระทบไปด้วย
สมองมีหลายส่วนที่แตกต่างกัน ซึ่งแต่ละส่วนมีหน้าที่ในการทำงานที่แตกต่างกัน (เช่น ความจำ การตัดสินใจ และการเคลื่อนไหว) เมื่อเซลล์บริเวณใดบริเวณหนึ่งได้รับความเสียหาย บริเวณนั้นจะไม่สามารถทำงานตามปกติได้
ภาวะสมองเสื่อมชนิดต่างๆ ขึ้นอยู่กับบริเวณที่สมองได้รับความเสียหาย ตัวอย่างเช่น ในโรคอัลไซเมอร์ มีระดับโปรตีนบางชนิดสูงทั้งภายในและภายนอกเซลล์สมอง ทำให้เซลล์สมองยากที่จะสื่อสารกันในแต่ละเซลล์
บริเวณสมองที่เรียกว่าฮิปโปแคมปัส ซึ่งเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้และความจำในสมอง เซลล์สมองในบริเวณนี้มักจะได้รับความเสียหายเป็นอันดับแรกๆ การสูญเสียความทรงจำจึงมักเป็นอาการเริ่มแรกของโรคอัลไซเมอร์
แม้ว่าการเปลี่ยนแปลงส่วนใหญ่ในสมองที่ทำให้เกิดภาวะสมองเสื่อมจะเกิดขึ้นอย่างถาวรและอาการทรุดลงเมื่อเวลาผ่านไป แต่ปัญหาด้านความคิดและความจำที่เกิดจากสภาวะต่อไปนี้อาจดีขึ้นเมื่ออาการนั้นได้รับการรักษาหรือแก้ไข:
– ภาวะซึมเศร้า
– ผลข้างเคียงจากยา
– การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป
– ปัญหาต่อมไทรอยด์
– การขาดวิตามิน
1. อายุ เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทราบกันดีมากที่สุด โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่มักพบในผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป
2. ประวัติครอบครัว ผู้ที่มีพ่อแม่หรือพี่น้องเป็นโรคสมองเสื่อมมีแนวโน้มที่จะเกิดภาวะสมองเสื่อมได้เอง
3. เชื้อชาติ/สีผิว ผู้สูงอายุชาวแอฟริกันอเมริกันมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคสมองเสื่อมมากกว่าคนผิวขาวถึงสองเท่า คนเชื้อสายสเปนมีโอกาสเป็นโรคสมองเสื่อมมากกว่าคนผิวขาวถึง 1.5 เท่า
4. มีสุขภาพหัวใจไม่ดี ผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง คอเลสเตอรอลสูง หรือสูบบุหรี่จะเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคสมองเสื่อมหากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม
5. สมองได้รับบาดเจ็บ การบาดเจ็บที่ศีรษะสามารถเพิ่มความเสี่ยงของภาวะสมองเสื่อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเป็นรุนแรงหรือเกิดขึ้นซ้ำๆ
การวินิจฉัยโรคสมองเสื่อมไม่สามารถทดสอบด้วยเครื่องมือเพียงอย่างเดียว แพทย์จะวินิจฉัยโรคอัลไซเมอร์และภาวะสมองเสื่อมประเภทอื่นๆ โดยพิจารณาจากประวัติทางการแพทย์อย่างละเอียด การตรวจร่างกาย การทดสอบในห้องปฏิบัติการ และลักษณะการเปลี่ยนแปลงทางความคิด การทำงาน และพฤติกรรมในกิจวัตรประจำวันที่เกี่ยวข้อง แพทย์อาจสามารถระบุได้ว่าบุคคลนั้นเป็นโรคสมองเสื่อม แต่เป็นการยากที่จะระบุชนิดของภาวะสมองเสื่อมที่แน่นอน เนื่องจากอาการและการเปลี่ยนแปลงทางสมองของภาวะสมองเสื่อมชนิดต่างๆ อาจทับซ้อนกัน
แพทย์อาจทำการทดสอบความสนใจ ความจำ การแก้ปัญหา และความสามารถในการรับรู้อื่นๆ เพื่อดูว่ามีสาเหตุที่น่ากังวลหรือไม่ การตรวจร่างกาย การตรวจเลือด และการสแกนสมอง เช่น CT หรือ MRI สามารถช่วยระบุสาเหตุที่แท้จริงได้
ในบางกรณี แพทย์อาจวินิจฉัยว่าเป็นโรคสมองเสื่อมโดยไม่ระบุชนิด ซึ่งหากต้องการทราบรายละเอียดมากยิ่งขึ้น อาจจำเป็นต้องพบผู้เชี่ยวชาญ เช่น แพทย์ทางระบบประสาท จิตแพทย์ นักจิตวิทยา หรืออายุรแพทย์
การรักษาโรคสมองเสื่อมขึ้นอยู่กับสาเหตุที่แท้จริง โรคสมองเสื่อมที่เกิดจากความเสื่อมของระบบประสาท เช่น โรคอัลไซเมอร์ ไม่มีทางรักษาให้หายขาดได้ แม้ว่าจะมียาที่สามารถช่วยปกป้องสมองหรือจัดการกับอาการต่างๆ เช่น ความวิตกกังวลหรือพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป ปัจจุบัน การวิจัยเพื่อพัฒนายาในการรักษาเพิ่มเติมกำลังดำเนินอยู่
การมีพฤติกรรมที่ดีต่อสุขภาพ เช่น การออกกำลังกายเป็นประจำ การกินอาหารที่มีประโยชน์ และการหมั่นเข้าสังคม จะช่วยลดโอกาสในการเกิดโรคเรื้อรัง และอาจลดโอกาสการเป็นโรคสมองเสื่อมได้
ภญ. ปฐมา เทพชัยศรี
เภสัชกรคลินิก แผนกเภสัชกรรม
โรงพยาบาลบีเอ็นเอช
เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง
ยินยอมทั้งหมด
เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับเว็บไซต์ของเรา เนื่องจากคุกกี้เหล่านี้ทำให้เว็บเซิร์ฟเวอร์สามารถตอบสนองต่อการกระทำของท่านได้ อีกทั้งยังช่วยในการแสดงผลหน้าเว็บต่อท่าน และยังรวมถึงมอบประสบการณ์ที่สอดคล้องในระหว่างการท่องเว็บไซต์ คุกกี้เหล่านี้จะคงอยู่จนกว่าจะสิ้นสุดการเยี่ยมชมของท่านและจะถูกลบอัตโนมัติทันที
รายชื่อคุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง
ช่วยให้เราสามารถตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงานของเว็บไซต์ของเราด้วยจำนวนครั้งการเข้าดูหน้าเว็บและจำนวนผู้เข้าใช้งานเว็บไซต์ โดยบริการวิเคราะห์เว็บจะวิเคราะห์รูปแบบพฤติกรรมของผู้ใช้ ซึ่งเราจะใช้ข้อมูลดังกล่าวในการปรับปรุงประสบการณ์การใช้งานของผู้ใช้หรือค้นหาส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ที่ควรได้รับการปรับปรุง อย่างไรก็ตามข้อมูลดังกล่าวไม่สามารถระบุถึงตัวบุคคลได้ (กล่าวคือ เป็นข้อมูลที่ไม่สามารถใช้เพื่อระบุตัวตนของท่านและไม่มีการเก็บรวบรวมหรือประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ชื่อ และที่อยู่อีเมลของท่าน) และข้อมูลเหล่านี้ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางสถิติเท่านั้น
รายชื่อคุกกี้เพื่อการวิเคราะห์/เพื่อประสิทธิภาพ
ช่วยให้เรารับรู้เมื่อท่านกลับมาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา ด้วยข้อมูลนี้เราจึงสามารถปรับแต่งเว็บไซต์ของเราให้เป็นไปตามความต้องการของท่านได้ เพื่ออำนวยความสะดวกในการเยี่ยมชมของท่านให้มีประสิทธิภาพและเฉพาะเจาะจงสำหรับท่านมากขึ้น ซึ่งโดยทั่วไปแล้วข้อมูลที่รวบรวมโดยคุกกี้เหล่านี้จะไม่สามารถระบุตัวตนของท่านได้
รายชื่อคุกกี้เพื่อช่วยในการใช้งาน
จะอยู่บนอุปกรณ์ของท่านเพื่อบันทึกหน้าเว็บไซต์หรือลิงค์ที่ท่านได้เยี่ยมชมหรือติดตาม ข้อมูลที่ได้จะถูกใช้เพื่อปรับแต่งเว็บไซต์ของเราและแคมเปญโฆษณาของเราเพื่อให้เหมาะกับความสนใจของท่าน
คุกกี้เพื่อการโฆษณา