fbpx

หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท (Herniated Disk)

เลือกหัวข้อที่ต้องการอ่าน

หมอนรองกระดูกที่เคลื่อนทับเส้นประสาทบริเวณหลัง ผู้ป่วยอาจมีอาการปวดหลัง ปวดขา ขาชา หรือขาอ่อนแรง เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น เอี้ยวตัวผิดท่า ยกของหนักผิดท่า อุบัติเหตุ เป็นต้น การรักษามีหลายวิธีตั้งแต่การกินยาเพื่อบรรเทาอาการ จนถึงการผ่าตัด

หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท หรือกระดูกทับเส้น เป็นอย่างไร

หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท เป็นปัญหาเกี่ยวกับหมอนรองกระดูกซึ่งซ้อนกันอยู่ระหว่างกระดูกสันหลังเกิดการแตกและปลิ้นออกมากดทับเส้นประสาท ทำให้เกิดอาการปวด หมอนรองกระดูกเคลื่อนสามารถเกิดขึ้นได้กับส่วนใดส่วนหนึ่งของกระดูกสันหลัง ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นบริเวณหลังส่วนล่าง อาการและบริเวณที่ปวดมักขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่หมอนรองกระดูกเคลื่อน อาการที่เกิดขึ้นได้แก่ อาการปวด ชา หรือ แขนหรือขาอ่อนแรงได้ หลายคนอาจไม่มีอาการเมื่อเกิดหมอนรองกระดูกเคลื่อน หลายคนอาการมักจะมีอาการน้อย และดีขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป หรือหายได้เอง ไม่จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัด

หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท อาการเป็นอย่างไร

อาการกระดูกทับเส้น

หมอนรองกระดูกเคลื่อนที่ส่วนใหญ่เกิดบริเวณหลังส่วนล่าง แต่ก็สามารถเกิดบริเวณคอได้เช่นกัน อาการและอาการแสดงขึ้นอยู่กับตำแหน่งของหมอนรองกระดูกที่กดทับเส้นประสาท ซึ่งมักจะส่งผลกระทบต่อแขนหรือขาข้างใดข้างหนึ่งของร่างกาย อาการเหล่านี้ได้แก่:

1. ปวดแขนหรือขา หากหมอนรองกระดูกเคลื่อนที่บริเวณหลังส่วนล่าง นอกจากอาการปวดหลังส่วนล่างแล้ว จะรู้สึกปวดบั้นท้าย ต้นขา และน่องด้วย อาจปวดที่เท้าได้เช่นกัน

สำหรับหมอนรองกระดูกเคลื่อนที่ที่คอ โดยทั่วไปจะรู้สึกปวดไหล่และแขนมาก ความเจ็บปวดนี้อาจเจ็บปวดมากขึ้นที่แขนหรือขาเมื่อไอ จาม หรือขยับตัวในบางท่า ลักษณะอาการปวดมักรู้สึกเหมือนโดนของมีคม หรือรู้สึกแสบร้อน

2. อาการชาหรือรู้สึกเหมือนโดนเข็มทิ่มบริเวณที่เส้นประสาทได้รับผลกระทบ

3. กล้ามเนื้ออ่อนแรง โดยเฉพาะบริเวณที่เส้นประสาทที่ถูกกดทับ อาจส่งผลต่อความสามารถในการยกหรือถือสิ่งของ

อย่างไรก็ตาม หากเกิดหมอนรองกระดูกเคลื่อนที่แต่ไม่มีอาการ การวินิจฉัยโรคจะสามารถดูได้จากภาพถ่ายกระดูกสันหลังเท่านั้น

สาเหตุของกระดูกทับเส้นประสาท

กระดูกทับเส้นประสาทเกิดจากอะไร

ส่วนใหญ่มักเป็นผลจากหมอนรองกระดูกเกิดการสึกหรอและฉีกขาดตามอายุอย่างค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งเรียกว่าการเสื่อมสภาพของหมอนรองกระดูก ซึ่งเมื่อคนเรามีอายุมากขึ้น หมอนรองกระดูกจะมีความยืดหยุ่นน้อยลงและมีแนวโน้มที่จะฉีกขาดหรือแตกออกได้แม้จะตึงหรือบิดเล็กน้อยก็ตาม

คนส่วนใหญ่ไม่สามารถระบุสาเหตุของหมอนรองกระดูกเคลื่อนที่ได้ บางครั้งการใช้กล้ามเนื้อหลังแทนกล้ามเนื้อขาและต้นขาในการยกของหนัก อาจทำให้เกิดหมอนรองกระดูกเคลื่อนได้ โดยเฉพาะการบิดและหมุนขณะยกของ หรืออุบัติเหตุที่ทำให้เกิดการกระทบกระเทือน เช่น การหกล้มหรือการถูกกระแทกที่หลัง

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงของหมอนรองกระดูกเคลื่อน ได้แก่:

น้ำหนัก น้ำหนักตัวที่มากเกินไปทำให้เกิดแรงกดบนแผ่นหลังส่วนล่าง เพิ่มความเสี่ยงต่อหมอนรองกระดูกเคลื่อนได้
อาชีพ ผู้ที่ใช้แรงงานอาจมีความเสี่ยงต่อปัญหาหลัง โดยเฉพาะการยก ดึง ดัน ก้มตัวไปด้านข้างและบิดซ้ำๆ สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดหมอนรองกระดูกเคลื่อนได้
พันธุกรรม บางคนมีพันธุกรรมในการเกิดหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
การสูบบุหรี่ เป็นที่เชื่อกันว่าการสูบบุหรี่ทำให้ออกซิเจนไปเลี้ยงหมอนรองกระดูกน้อยลง ทำให้หมอนรองกระดูกเสียหายเร็วขึ้น
การนั่งขับรถเป็นประจำ การนั่งเป็นเวลานานบวกกับการสั่นสะเทือนจากเครื่องยนต์ของยานยนต์สามารถเพิ่มแรงกดดันต่อกระดูกสันหลังได้
การไม่เคลื่อนไหวร่างกาย การออกกำลังกายเป็นประจำสามารถช่วยป้องกันหมอนรองกระดูกเคลื่อนได้
อายุที่เพิ่มขึ้น เพิ่มความเสี่ยงต่อหมอนรองกระดูกเคลื่อนได้

การตรวจวินิจฉัย

หมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาทวินิจฉัยได้อย่างไร?

แพทย์จะทำการตรวจอย่างละเอียด โดยประเมินความเจ็บปวด การตอบสนองของกล้ามเนื้อ ความรู้สึก และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ นอกจากนี้ยังอาจสั่งตรวจอย่างอื่นเพิ่มเติมเพื่อยืนยันการวินิจฉัย เช่น การเอ็กซ์เรย์ การทำ Computerized Tomography Scan (CT scan) การทำ Magnetic Resonance Imaging (MRI) เป็นต้น

การรักษาหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท

บรรเทาอาการปวดเองที่บ้าน

โดยส่วนใหญ่ ความเจ็บปวดจากหมอนรองกระดูกเคลื่อนสามารถหายไปได้เอง จากการรักษาตัวที่บ้าน ดังนี้:

– หากปวดมากควรพักจากการทำงาน 1-3 วัน แต่สิ่งสำคัญคือต้องหลีกเลี่ยงการนอนพักนานๆ เพื่อป้องกันอาการตึง และกล้ามเนื้อหลังอาจสูญเสียความแข็งแรง
– ใช้ยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการ เช่น ไอบูโพรเฟนหรือพาราเซตามอล
– ใช้ความร้อนหรือความเย็นตรงบริเวณที่ปวด

ควรพบแพทย์เมื่อใด?

ในขั้นต้น อาการปวดหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทสามารถรักษาได้เองที่บ้าน แต่ควรไปพบแพทย์หาก:

– อาการปวดรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การทำงาน
– อาการไม่ดีขึ้นหลังจากสี่ถึงหกสัปดาห์
– อาการจะแย่ลง
– สูญเสียความสามารถในการควบคุมปัสสาวะหรืออุจจาระ
– รู้สึกเหมือนเข็มตำ ชา หรือไม่มีแรงที่แขน มือ ขา หรือเท้า
– มีปัญหาในการยืนหรือเดิน

ทางเลือกในการรักษามีอะไรบ้าง

1. ยา แพทย์อาจสั่งยาแก้ปวดต้านการอักเสบหรือยาคลายกล้ามเนื้อ
2. กายภาพบำบัด นักกายภาพบำบัดจะสอนท่าที่ช่วยบรรเทาแรงกดดันต่อเส้นประสาท การกายภาพบำบัดจะช่วยคลายกล้ามเนื้อที่ตึงและเพิ่มการไหลเวียนเลือด
3. การฉีดยาสเตียรอยด์เข้าสู่กระดูกสันหลังโดยตรง ซึ่งยาจะช่วยลดอาการบวมและอักเสบของเส้นประสาทจากหมอนรองกระดูกเคลื่อน ช่วยให้ร่างกายฟื้นตัวและกลับมาทำกิจกรรมได้เร็วขึ้น
4. การผ่าตัด หากหมอนรองกระดูกเคลื่อนไปมาก อาจทำให้เกิดความเสียหายต่อเส้นประสาทที่กระเพาะปัสสาวะหรือลำไส้ ที่อาจจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดฉุกเฉิน สำหรับกรณีที่ไม่ฉุกเฉิน การผ่าตัดเป็นทางเลือกเมื่อการรักษาอื่นๆ ล้มเหลว การผ่าตัดคลายการกดทับของกระดูกสันหลังมีหลายวิธี ซึ่งมีเป้าหมายเดียวกันคือเพื่อลดการกดทับเส้นประสาท

อาการแทรกซ้อน

หากไม่รักษา

น้อยครั้งมากที่พบหมอนรองกระดูกกดทับช่องไขสันหลังทั้งหมด รวมถึงเส้นประสาททั้งหมด แต่ในบางกรณีผู้ป่วยอาจจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดฉุกเฉินเพื่อหลีกเลี่ยงอาการอ่อนแรงถาวรหรือเป็นอัมพาต

การป้องกัน

หลีกเลี่ยงการเป็นโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทได้อย่างไร

เราไม่สามารถป้องกันหมอนรองกระดูกเคลื่อนที่ได้เสมอไป แต่สามารถลดความเสี่ยงได้โดย:

– ใช้เทคนิคการยกของหนักที่เหมาะสม อย่างอที่เอว ใช้วิธีงอเข่าโดยให้หลังตรง ใช้กล้ามเนื้อขาซึ่งแข็งแรงกว่าเพื่อช่วยรับน้ำหนัก
– รักษาน้ำหนักตัวให้เหมาะสม น้ำหนักตัวที่มากเกินไปจะกดทับหลังส่วนล่างได้
– ฝึกท่าทางที่ดี เรียนรู้ท่าเดิน นั่ง ยืน และนอน ด้วยท่าทางที่ถูกต้อง จะช่วยลดแรงกดดันที่กระดูกสันหลัง
– การยืดเหยียดกล้ามเนื้อ การยืดเส้นยืดสายเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะหากจำเป็นต้องนั่งเป็นเวลานานๆ
– หลีกเลี่ยงการสวมรองเท้าส้นสูง รองเท้าประเภทนี้จะทำให้กระดูกสันหลังเสียสมดุล
– ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เน้นการออกกำลังกายที่เสริมสร้างกล้ามเนื้อหลังและหน้าท้องเพื่อรองรับกระดูกสันหลัง
– หยุดสูบบุหรี่ การสูบบุหรี่อาจทำให้หมอนรองกระดูกอ่อนแอลง

เมื่อเป็นหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

แนวโน้มของผู้ที่มีหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทเป็นอย่างไร?

 90% ของคนที่มีอาการปวดจากหมอนรองกระดูกเคลื่อน จะดีขึ้นเองหรือจากการดูแลทางการแพทย์อย่างง่ายๆ โดยมักรู้สึกดีขึ้นภายในหนึ่งเดือน แต่หากไม่เป็นเช่นนั้น ควรพบแพทย์ เพราะบางคนอาจต้องการการรักษาที่เพิ่มขึ้น เช่น การฉีดยาเข้าไขสันหลังหรือการผ่าตัด

หมอนรองกระดูกเคลื่อนจะแย่ลงได้หรือไม่?

หมอนรองกระดูกเคลื่อนที่ที่ไม่ได้รับการรักษาอาจแย่ลงได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากทำกิจกรรมที่เป็นสาเหตุต่อไป หมอนรองกระดูกที่แตกร้าวมากขึ้นอาจทำให้เกิดอาการปวดเรื้อรัง และสูญเสียการควบคุมหรือความรู้สึกในบริเวณที่ได้รับผลกระทบ ควรพบแพทย์หากยังคงมีอาการต่อเนื่องหลังจากสี่ถึงหกสัปดาห์

ข้อมูลโดย

ภญ. ปฐมา เทพชัยศรี
เภสัชกรคลินิก แผนกเภสัชกรรม
โรงพยาบาลบีเอ็นเอช

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง

ยินยอมทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง
    เปิดใช้งานตลอด

    เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับเว็บไซต์ของเรา เนื่องจากคุกกี้เหล่านี้ทำให้เว็บเซิร์ฟเวอร์สามารถตอบสนองต่อการกระทำของท่านได้ อีกทั้งยังช่วยในการแสดงผลหน้าเว็บต่อท่าน และยังรวมถึงมอบประสบการณ์ที่สอดคล้องในระหว่างการท่องเว็บไซต์ คุกกี้เหล่านี้จะคงอยู่จนกว่าจะสิ้นสุดการเยี่ยมชมของท่านและจะถูกลบอัตโนมัติทันที
    รายชื่อคุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์/เพื่อประสิทธิภาพ

    ช่วยให้เราสามารถตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงานของเว็บไซต์ของเราด้วยจำนวนครั้งการเข้าดูหน้าเว็บและจำนวนผู้เข้าใช้งานเว็บไซต์ โดยบริการวิเคราะห์เว็บจะวิเคราะห์รูปแบบพฤติกรรมของผู้ใช้ ซึ่งเราจะใช้ข้อมูลดังกล่าวในการปรับปรุงประสบการณ์การใช้งานของผู้ใช้หรือค้นหาส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ที่ควรได้รับการปรับปรุง อย่างไรก็ตามข้อมูลดังกล่าวไม่สามารถระบุถึงตัวบุคคลได้ (กล่าวคือ เป็นข้อมูลที่ไม่สามารถใช้เพื่อระบุตัวตนของท่านและไม่มีการเก็บรวบรวมหรือประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ชื่อ และที่อยู่อีเมลของท่าน) และข้อมูลเหล่านี้ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางสถิติเท่านั้น
    รายชื่อคุกกี้เพื่อการวิเคราะห์/เพื่อประสิทธิภาพ

  • คุกกี้เพื่อช่วยในการใช้งาน

    ช่วยให้เรารับรู้เมื่อท่านกลับมาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา ด้วยข้อมูลนี้เราจึงสามารถปรับแต่งเว็บไซต์ของเราให้เป็นไปตามความต้องการของท่านได้ เพื่ออำนวยความสะดวกในการเยี่ยมชมของท่านให้มีประสิทธิภาพและเฉพาะเจาะจงสำหรับท่านมากขึ้น ซึ่งโดยทั่วไปแล้วข้อมูลที่รวบรวมโดยคุกกี้เหล่านี้จะไม่สามารถระบุตัวตนของท่านได้
    รายชื่อคุกกี้เพื่อช่วยในการใช้งาน

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณา

    จะอยู่บนอุปกรณ์ของท่านเพื่อบันทึกหน้าเว็บไซต์หรือลิงค์ที่ท่านได้เยี่ยมชมหรือติดตาม ข้อมูลที่ได้จะถูกใช้เพื่อปรับแต่งเว็บไซต์ของเราและแคมเปญโฆษณาของเราเพื่อให้เหมาะกับความสนใจของท่าน
    คุกกี้เพื่อการโฆษณา

บันทึก