fbpx

ตรวจภายใน ลดความเสี่ยงก่อนเกิดโรคร้ายในผู้หญิงได้อย่างไร

เมื่อไหร่ที่ควรตรวจภายใน อาการแบบไหนควรตรวจภายใน

ยาวไปอยากเลือกอ่าน

การตรวจภายใน คืออะไร ตรวจอะไรบ้าง

การตรวจภายในเป็นการตรวจหาและคัดกรองความผิดปกติของมดลูก ปากมดลูก เยื่อบุโพรงมดลูก รังไข่ ท่อนำไข่ ช่องคลอด และบริเวณโดยรอบ โดยแพทย์จะสอดนิ้วที่สวมถุงมือหนึ่งหรือสองนิ้วเข้าไปในช่องคลอดและกดที่ท้องส่วนล่างด้วยมืออีกข้างหนึ่งเพื่อคลำหาก้อนเนื้อและตรวจดูขนาด รูปร่าง และตำแหน่งของมดลูกและรังไข่ และใช้อุปกรณ์ที่คล้ายปากเป็ดเข้าไปเก็บเซลล์ตัวอย่างที่ปากมดลูกไปตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ซึ่งมะเร็งปากมดลูกเป็นหนึ่งในโรคที่ทำให้ผู้หญิงเสียชีวิตมากที่สุด การตรวจพบในระยะเริ่มแรกสามารถรักษาและป้องกันการลุกลามของโรคได้

นอกจากนี้ หากแพทย์ต้องการผลตรวจที่ละเอียดมากขึ้น แพทย์อาจทำการตรวจอัลตร้าซาวด์ผ่านช่องคลอด พร้อมกับการตรวจภายใน ซึ่งสามารถตรวจความผิดปกติ เช่น ก้อนเนื้อ ถุงน้ำ บริเวณมดลูกและรังไข่ได้ โดยแพทย์จะสอดหัวอัลตร้าซาวด์ผ่านเข้าไปในช่องคลอด ซึ่งอาจทำให้รู้สึกไม่สบายท้องด้านล่างเล็กน้อย ซึ่งหัวตรวจจะเข้าไปใกล้ตำแหน่งมดลูกและรังไข่ ทำให้สามารถมองเห็นภาพมดลูกและรังไข่ ผ่านทางจอมอนิเตอร์ได้ชัดเจนมากขึ้น

เมื่อไหร่ที่ควรตรวจภายใน อาการแบบไหนควรตรวจภายใน

แนะนำให้ตรวจภายในในผู้ที่

1. ผู้หญิงที่มีเพศสัมพันธ์แล้ว หรือมีอายุครบ 21 ปี
2. มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งรังไข่หรือมะเร็งปากมดลูก
3. ปวดเชิงกรานหรือปวดขณะมีเพศสัมพันธ์
3. มีประจำเดือนผิดปกติ ตกขาวผิดปกติหรือมีเลือดออก
4. ความกังวลเกี่ยวกับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
5. อาการผิดปกติอื่นๆ บริเวณท้องน้อย หรืออวัยวะเพศ
6. กำลังตั้งครรภ์

ควรตรวจภายในบ่อยแค่ไหน

ผู้หญิงที่มีเพศสัมพันธ์แล้วควรตรวจภายในเป็นประจำทุกปี ร่วมกับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ซึ่งระยะห่างของการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก คือ 1-2 ปี ขึ้นอยู่กับวิธีที่ใช้ในการตรวจ

รายละเอียดการตรวจ

การเตรียมตัวก่อนการตรวจภายใน

ไม่จำเป็นต้องทำอะไรเป็นพิเศษเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการตรวจภายใน แต่หากคุณอยู่ในช่วงมีประจำเดือนในวันที่ทำการตรวจ แพทย์อาจแนะนำให้เปลี่ยนวันเพื่อตรวจในช่วงที่ประจำเดือนหยุดสนิท แต่หากต้องการหาความผิดปกติระหว่างมีประจำเดือน สามารถพบแพทย์โดยไม่ต้องรอให้ประจำเดือนหยุดก่อนได้เลย

ระยะเวลาที่ใช้ในการตรวจ

โดยปกติแล้วจะใช้เวลาประมาณ 10 นาที

การตรวจเจ็บหรือไม่

อาจรู้สึกไม่สบายเล็กน้อย แต่ไม่ควรรู้สึกเจ็บระหว่างการตรวจ การหายใจเข้าลึก ๆ ช้า ๆ และปัสสาวะก่อนการตรวจสามารถช่วยบรรเทาความรู้สึกไม่สบาย หากรู้สึกเจ็บปวดหรือไม่สบายระหว่างการตรวจ ควรแจ้งให้แพทย์ทราบ หากกังวลเกี่ยวกับความเจ็บปวด ก่อนที่จะเริ่มการตรวจ สามารถพูดคุยกับแพทย์เพื่อรับคำแนะนำกระบวนการตรวจและแก้ไขข้อกังวล

การตรวจภายในทำอย่างไร วิธีการตรวจภายใน

การเตรียมตัวสำหรับตรวจภายใน
1. ปัสสาวะให้เรียบร้อย
2. ถอดกางเกงชั้นในออก เปลี่ยนเป็นชุดสำหรับตรวจภายใน
3. นอนหงายบนเตียงที่มีขาหยั่ง เลื่อนตัวลงมาและวางขาทั้ง 2 ข้างบนขาหยั่ง แพทย์จะใช้ผ้าคลุมขา 2 ข้างและหน้าท้องด้านล่าง
4. ขณะตรวจควรผ่อนคลาย ไม่เกร็งกล้ามเนื้อหน้าท้องหรือช่องคลอด
 
วิธีการตรวจภายใน
1. แพทย์ตรวจดูบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกว่ามีอะไรผิดปกติหรือไม่
2. แพทย์จะสอดเครื่องมือที่มีลักษณะคล้ายปากเป็ดเข้าไปในช่องคลอดเบาๆ เพื่อดูความผิดปกติในช่องคลอดและปากมดลูก
3. แพทย์อาจใช้เครื่องมือเข้าไปเก็บเซลล์ตัวอย่างที่ปากมดลูกเพื่อนำไปตรวจหาความผิดปกติ
4. แพทย์อาจสอดนิ้วมือที่สวมถุงมือ 1-2 นิ้วเข้าไปในช่องคลอด และกดเบาๆ ที่หน้าท้องส่วนล่าง 
5. เปลี่ยนเสื้อผ้าหลังการตรวจเสร็จ
 
วิธีการตรวจอัลตร้าซาวด์ทางช่องคลอด
การตรวจมีลักษณะคล้ายกับการตรวจภายใน  โดยแพทย์จะสอดอุปกรณ์หัวอัลตร้าซาวด์เข้าไปทางช่องคลอดและขยับไปตามตำแหน่งต่างๆ โดยหัวตรวจจะทำหน้าที่รับสัญญาณคลื่นเสียงสะท้อนกลับระดับต่างๆ แล้วแสดงผลออกมาเป็นภาพผ่านทางจอมอนิเตอร์
 
สิ่งที่ควรปฏิบัติขณะตรวจภายใน
ควรปล่อยตัวตามสบาย ไม่เกร็งหน้าท้อง
 

การเก็บตัวอย่างเซลล์ขณะตรวจภายในเพื่ออะไร

เซลล์ตัวอย่างอาจถูกเก็บเพื่อนำไปตรวจสอบหามะเร็งปากมดลูก, เชื้อไวรัส Human Papilloma virus ซึ่งเป็นไวรัสที่ก่อโรคบริเวณอวัยวะเพศและทวารหนัก เช่น มะเร็งปากมดลูก มะเร็งทวารหนัก หูดหงอนไก่ เป็นต้น และโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ

จะทราบผลการตรวจเมื่อไหร่

โดยปกติแล้วผลการตรวจบางอย่างสามารถทราบผลได้ทันที และบางอย่างใช้เวลา 2-3 วัน

ประโยชน์ของการตรวจภายใน

ประโยชน์ของการตรวจภายใน

ทำไมผู้หญิงควรตรวจภายใน

การตรวจภายในมีความสำคัญต่อการตรวจสุขภาพระบบสืบพันธ์ุของผู้หญิง นอกจากนี้ยังสามารถตรวจหาโรคที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิต เช่น มะเร็งหรือการติดเชื้อ

การตรวจพบโรคในระยะแรกจะช่วยให้รักษาได้ทันท่วงที โดยเฉพาะบางโรคไม่มีอาการแสดงในระยะเริ่มแรก เช่น มะเร็งปากมดลูก ก้อนเนื้องอกในมดลูก หรือรังไข่เป็นต้น

ข้อมูลโดย

ภญ. ปฐมา เทพชัยศรี
เภสัชกรคลินิก แผนกเภสัชกรรม
โรงพยาบาลบีเอ็นเอช

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง

ยินยอมทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง
    เปิดใช้งานตลอด

    เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับเว็บไซต์ของเรา เนื่องจากคุกกี้เหล่านี้ทำให้เว็บเซิร์ฟเวอร์สามารถตอบสนองต่อการกระทำของท่านได้ อีกทั้งยังช่วยในการแสดงผลหน้าเว็บต่อท่าน และยังรวมถึงมอบประสบการณ์ที่สอดคล้องในระหว่างการท่องเว็บไซต์ คุกกี้เหล่านี้จะคงอยู่จนกว่าจะสิ้นสุดการเยี่ยมชมของท่านและจะถูกลบอัตโนมัติทันที
    รายชื่อคุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์/เพื่อประสิทธิภาพ

    ช่วยให้เราสามารถตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงานของเว็บไซต์ของเราด้วยจำนวนครั้งการเข้าดูหน้าเว็บและจำนวนผู้เข้าใช้งานเว็บไซต์ โดยบริการวิเคราะห์เว็บจะวิเคราะห์รูปแบบพฤติกรรมของผู้ใช้ ซึ่งเราจะใช้ข้อมูลดังกล่าวในการปรับปรุงประสบการณ์การใช้งานของผู้ใช้หรือค้นหาส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ที่ควรได้รับการปรับปรุง อย่างไรก็ตามข้อมูลดังกล่าวไม่สามารถระบุถึงตัวบุคคลได้ (กล่าวคือ เป็นข้อมูลที่ไม่สามารถใช้เพื่อระบุตัวตนของท่านและไม่มีการเก็บรวบรวมหรือประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ชื่อ และที่อยู่อีเมลของท่าน) และข้อมูลเหล่านี้ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางสถิติเท่านั้น
    รายชื่อคุกกี้เพื่อการวิเคราะห์/เพื่อประสิทธิภาพ

  • คุกกี้เพื่อช่วยในการใช้งาน

    ช่วยให้เรารับรู้เมื่อท่านกลับมาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา ด้วยข้อมูลนี้เราจึงสามารถปรับแต่งเว็บไซต์ของเราให้เป็นไปตามความต้องการของท่านได้ เพื่ออำนวยความสะดวกในการเยี่ยมชมของท่านให้มีประสิทธิภาพและเฉพาะเจาะจงสำหรับท่านมากขึ้น ซึ่งโดยทั่วไปแล้วข้อมูลที่รวบรวมโดยคุกกี้เหล่านี้จะไม่สามารถระบุตัวตนของท่านได้
    รายชื่อคุกกี้เพื่อช่วยในการใช้งาน

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณา

    จะอยู่บนอุปกรณ์ของท่านเพื่อบันทึกหน้าเว็บไซต์หรือลิงค์ที่ท่านได้เยี่ยมชมหรือติดตาม ข้อมูลที่ได้จะถูกใช้เพื่อปรับแต่งเว็บไซต์ของเราและแคมเปญโฆษณาของเราเพื่อให้เหมาะกับความสนใจของท่าน
    คุกกี้เพื่อการโฆษณา

บันทึก