โรคกระดูกพรุน
โรคกระดูกพรุน (Osteporosis)
…..เป็นภาวะที่มวลกระดูกหรือความหนาแน่นของเนื้อกระดูกลดลง ร่วมกับมีความเสื่อมของโครงสร้างภายในของกระดูกทำให้ความแข็งแรงของกระดูกลดลง และทำให้กระดูกหักได้ง่าย คนเราจะเริ่มสะสมมวลกระดูกตั้งแต่วัยเด็กจนมีมวลกระดูกสูงสุดที่อายุ 30 ปี
…มวลกระดูกสูงสุดจะคงที่อยู่เช่นนั้นอยู่ช่วงเวลาหนึ่งจนเมื่อถึงจุดใดจุด หนึ่งในช่วงอายุประมาณ 35-40 ปี ระดับมวลกระดูกก็จะเริ่มลดลง ไม่มีใครทราบถึงสาเหตุที่แน่นอนของปรากฏการณ์นี้แต่เชื่อว่าเป็นผลมาจากการ ที่กลไกการควบคุมระดับมวลกระดูกเริ่มเสื่อมชราลง มวลกระดูกจะลดลงในช่วงนี้อย่างช้าๆ ประมาณ 0.5-1% ต่อปี ใกล้เคียงกันในทั้งสองเพศ แต่สำหรับในผู้หญิงแล้วยังมีปรากฏการณ์ที่ทำให้มีการสูญเสียมวลกระดูกเกิด ขึ้นอีกนั้นก็คือ “การหมดประจำเดือน” (menopause) ภายหลังจากหมดประจำเดือน ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน (estrogen) ซึ่งเป็นฮอร์โมนตัวสำคัญในการรักษาระดับของมวลกระดูกในผู้หญิงจะลดต่ำลงทำ ให้มีการสูญเสียมวลกระดูกอย่างรวดเร็วอาจเร็วถึง 3-5% ต่อปี ทั้งนี้โดยในแต่ละคนจะไม่เท่ากัน ช้าบ้างเร็วบ้าง จะเห็นได้ว่าการลดลงของมวลกระดูกเกิดขึ้นกัยทุกคนทุกเพศ แต่จะเกิดในอัตราเร็วที่ไม่เท่ากัน กว่าจะสูญเสียมวลกระดูกจนถึงระดับที่เสี่ยงต่อการหัก หรือที่เราเรียกว่าเป็น “โรคกระดูกพรุน” แล้ว จะใช้เวลาที่ไม่เท่ากัน บางรายใช้เวลาไม่ถึง 10 ปี แต่บางรายก็ใช้เวลามากอาจถึง 20-30 ปี ทีเดียว พูดง่ายๆ ก็คือในทุกๆ คนถ้ามีอายุยืนยาวพอก้จะต้อง เป็นโรคนี้ได้มีการศึกษาอย่างกว้างขวางว่ามีปัจจัยอะไรบ้างที่จะทำให้เกิด โรคกระดูกพรุนได้ง่ายและคนในกลุ่มใดบ้างที่เสี่ยงต่อการ เป็นโรคนี้มากกว่าคนอื่นๆ เราเรียกคนเหล่านี้ว่า “กลุ่มเสี่ยง” ได้แก่
- ผู้สูงอายุทั้งชายและหญิงโดยเฉพาะในผู้หญิงจะมีความเสี่ยงสูงกว่า
- ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน ยิ่งหมดมานานยิ่งมีความเสี่ยงสูง
- ผู้หญิงที่ได้รับการผ่าตัดเอารังไข่ออก หรือรังไข่หยุดทำงาน จะด้วยสาเหตุใดก็ตาม ก่อนวัยอันควร
- ผู้ที่มีรูปร่างผอมบาง ผู้ที่มีน้ำหนนักน้อยเมื่อเทียบกับความสูง
- ผู้ที่มีประวัติว่ามีคนในครอบครัวเป็นโรคกระดูกพรุน หรือเคยกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุน
- ผู้ที่ดื่มเหล้าหรือสูบบุหรี่จัด
- ผู้ที่ได้รับยาบางชนิดเป็นเวลานาน เช่น ยาสเรียรอยด์ ยากันชักบางตัว ยาไทร็อกซิน ฯลฯ
- ผู้ที่เป็นโรคบางโรค เช่น โรครูมาทอยด์ ดรคต่อมไทรอยด์เป็นพิศ โรคของต่อมไร้ท่อบางโรค ฯลฯ
ในภาวะปกติ
เซลล์สลายกระดูก ทำงานเท่ากับเซลล์สร้างกระดูก
ในภาวะกระดูกพรุน
เซลล์สลายกระดูก ทำงานมากกว่าเซลล์สร้างกระดูก
การวินิจฉัยโรคกระดูกพรุน
การตรวจโดยภาพถ่ายรังสีธรรมดา(X-ray)
- ไม่สามารถวินิจฉัยโรคกระดูกพรุนในระยะที่ยังไม่มีการะดูกหักได้
- จะเห็นการเปลี่ยนแปลงทาง X-ray ต่อเมื่อความหนาแน่นกระดูกลดลงมากกว่า 30%
การตรวจโดยวิธีคลื่นเสียงความถี่สูง(Ultrasound)
- เป็นวิธีที่สะดวก ราคาถูก
- มีความแม่นขำปานกลาง
- ใช้ตรวจเบื้องต้นได้ดี แต่ใช้วินิจฉัย โรคกระดูกพรุนไม่ได้
- ตรวจที่ส้นเท้า และข้อมือ
การตรวจโดยวิธี DEXA (Dual Energy X-ray Absorptiometry)
- เป็นวิธีมาตรฐานในการวินิจฉัยโรคกระดูกพรุน
- มีความแม่นยำสูง ใช้เวลาตรวจไม่นาน
- ตรวจได้หลายตำแหน่งได้แก่ กระดูกสันหลัง กระดูกสะโพก
- ใช้บอกความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหักได้
.
การเสริมสร้างกระดูกและการสูญเสียกระดูกในช่วงระยะเวลาต่างๆ
โรคกระดูกพรุนส่วนใหญ่จะไม่มีอาการแต่ผลที่ตามมาจะทำหมีอาการดังนี้
- คอตก และยื่นไปข้างหน้า
- ตัวเตี้ยลง
- หลังค่อม, ปวดหลังเรื้อรัง
- มักมีอาการแน่นท้อง อิ่มง่าย เนื่องจากปริมาตรช่องท้องลดลง
- ท้องผูก
- หายใจลำบาก
- ทำให้เสียบุคลิกภาพ
- เครียด ขาดความมั่นใจในตนเอง
- กระดูกหักง่าย
…
ทำไมโรคกระดูกพรุนจึงเป็นภัยมือที่รุกเงียบ ?
….เนื่องจากโรคนี้ค่อยเป็นค่อยไปช้าๆ จะไม่แสดงอาการใดๆ ให้ทราบในระยะกระดูกโปร่งบาง จนกว่าจะเป็นมากถึงขั้นกระดูกพรุนและกระดูกหัก อาการเบื้องต้นที่บ่งบอกว่าเป็นโรคกระดูกพรุนแล้วก็มีเช่น ตัวเตี้ยลงเร็วปีละมากกว่า 1 ซ.ม. กล้ามเนี้อลีบเล็กลง กระดูกสันหลังโก่งงอหรือคดมีอาการปวดหลังเป็นเองหายเองสลับกันไป ในรายที่กระดูกสะโพกพรุนจนหัดแล้วจะต้องรับการผ่าตัด และผลต่อมาอาจเกิดการพิการเดินไม่ได้ดังเดิมจึงนับว่าเป้นภัยมืดที่รุก เงียบอย่างแท้จริง
.
การป้องกันและรักษาโรคกระดูกพรุน
- รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
- รับประทานอาหารที่มีธาตุแคลเซียมสูง
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคกระดูกพรุน
- ระวังป้องกันการหกล้ม ในผู้สูงอายุเพื่อป้องกันกระดูกหัก
- ถ้ามีปัจจัยเสี่ยงมากควรรีบปรืกษาแพทย์เพื่อป้องกันไม่ให้กระดูกหักเสียก่อน
- รับประทานยารักษาโรคกระดูกพรุนในกรณีที่แพทย์เห็นสมควร
.
แบบประเมินภาวะโรคกระดูกพรุน
กรุณาเลือกโดยใส่เครื่อง ที่ตรงกับท่านดังต่อไปนี้
หากผลแบบผระเมินของท่านมีคำว่า “ใช่” เพียง 1 ข้อ แนะนำให้รับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
นัดหมายแพทย์และสอบถาม:
สอบถามรายละเอียดหรือ ศูนย์สุขภาพสตรี (สูตินรีเวชกรรม) โรงพยาบาลบีเอ็นเอช
โทร. 0-2686-2700 E-mail : info@www.bnhhospital.com